26 Fri , April 2024

blog

การเตรียมพื้นที่ปลูกผักหวานป่า

1 ปลูกบนพื้นที่ปลูกที่เป็นพื้นที่โลง

ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นที่โตช้า ไม่โตเร็วเหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น ตัวอย่างเช่น ต้นสัก ต้นมะค่า  ดังนั้นต้นผักหวานป่าตามธรรมชาติ จะอยู่ใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ เป็นแบบนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว  โดยพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น  ในป่าตามธรรมชาติ ต้นผักหวานป่าจะไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ 100 เปอร์เซ็นต์  จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ที่ลอดผ่านใบของต้นไม้ใหญ่ที่สูงกว่า ดังนั้นต้นผักหวานป่าจึงไม่ชอบแดดจัดโดยพันธุกรรม จึงชอบแสงแดดประมาณ 70%  แสงลอดผ่านไปได้ 70% อีก 30% จะถูกพรางแสงเอาไว้ ด้วยใบของต้นไม้ใหญ่ ดังนั้นปริมาณแสงและร่มเงาของต้นไม้ชนิดอื่นที่โตกว่า จึงมีมีอิทธิพลต่อความอยู่รอดของต้นผักหวานป่า เพราะนี่คือธรรมชาติของมัน การปลูกผักหวานป่าให้ประสบความสำเร็จ จึงไม่ใช่การฝืนธรรมชาติ แต่เป็นการเข้าใกล้ธรรมชาติ โดยการเลียนแบบตามธรรมชาติ การสังเกตุและเรียนรู้จากต้นผักหวานป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในป่า นำบทเรียนจากการสั่งเกตุและเรียนรู้มาประยุกต์นำมาปรับใช้กับการปลูกผักหวานป่าในเกษตรแปลงใหญ่ ปลูกเป็นไร่ เป็นสวน ในเวลาต่อมา 

ต้นผักหวานป่าไม่อาจโตได้ในสภาพที่มีแดดจัด 100% ตลอดทั้งวัน ถ้าต้องการให้ต้นผักหวานป่าอยู่รอดจะต้องปรับสภาพแวดดล้อมให้เหมาะสม เพราะพื้นที่โล่งไม่มีต้นไม้ใหญ่คอยให้ร่มเงาพรางแสง ผักหวานป่าก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ สำหรับพื้นที่โล่งแล้วก่อนนำพันธุ์ผักหวานมาปลูกควรมีกการปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงาที่พอดี คนในวงการผักหวานป่า จะเรียกว่า ต้นไม้พี่เลี้ยง  การเลือกต้นไม้พี่เลี้ยงที่เหมาะสมไม่ได้ช่วยให้ผักหวานป่ารอดตายเพียงเท่านั้นแต่ยังข่วยส่งเสริมให้ต้นผักหวานป่าโตเร็วกว่าปกติอีกด้วย 

สรุปแล้วสำหรับพื้นที่โล่งก่อนที่จะนำพันธุ์ผักหวานป่าไปปลูกจำเป็นต้อง ปลูกไม้พี่เลี้ยงรอ และเช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ชนิดอื่น จำเป็นต้อง บำรุ่งดินให้สมบูรณ์ และที่ขาดไม่ได้ก็คือการวางระบบน้ำ ไม่ว่าจะเป็นสปริงเกอร์หรือระบบน้ำหยด 

2 พื้นบนที่ปลูกที่มีต้นไม้ชนิดอื่นขึ้นอยู่แล้ว

เนื่องจากต้นผักหวานป่าต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของตันไม้พี่เลี้ยง และต้นไม้พี่เลี้ยงที่ดีก็ต้องพรางแสงได้ในปริมาณที่เหมาะสม แปลงปลูกของบางท่านนั้นมีต้นไม้ชนิดอื่นอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น สวนลำใย สวนมะม่วง สวนทุเรียน หรือ แม้แต่สวนกล้วย ก็ปลูกผักหวานป่าแซมลงไปได้  แต่การวางแผนการปลูก และการเตรียมการจะแตกต่างจากพื้นที่โล่ง เนื่องจากขนาดใบของต้นไม้แต่ละชนิดที่ยกตัวอย่าง มีใบขนาดใหญ่ จึงทำให้แสงจะลอดผ่านได้ในปริมาณที่น้อยกว่า 70% มีผลทำให้การปลูกผักหวานป่านั้น จะได้ผลดีเฉพาะตำแหน่งระหว่างทรงพุ่มเท่านั้น เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่แสงลอดผ่านได้  ตำแหน่งใต้ทรงพุ่มแสงลอดผ่านได้น้อย ปลูกแล้วไม่ตายก็จริงแต่จะโตช้า บางต้นอายุเกิน 5 ปี แล้วสูงแค่ศอก เก็บยอดไม่ได้ก็ไม่คุ้มค่ากับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย  ต้นผักหวานป่าในป่าเลือกต้นไม้พี่เลี้ยงให้ตัวเองไม่ได้ กว่าจะโตและเก็บยอดได้ก็อาจจะใช้เวลานานเกิน 10 ปี แต่การปลูกในแปลงปลูกของเราเอง ท่านนักปลูกสามารถเลือกความเหมาะสมและสิ่งที่ดีที่สุดให้ต้นผักหวานป่าของท่านได้ โดยการเตรียมพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมและเลือกต้นไม้พี่เลี้ยงที่ดีเกื้อกูลให้โตเร็ว ถ้าปลูกถูกวิธีและดูแลถูกต้อง โดยเฉลี่ยและจะใช้เวลาปลูกเพียง 3 ปีก็จะสามารถให้ยอดเก็บแกง เก็บขายได้ บางแปลงดินอุดมสมบูรณ์มีระบบน้ำที่ดี 2 ปีก็เริ่มให้ยอดแล้ว แปลงปลูกที่เดิมทีเป็นสวนผลไม้มีการวางระบบน้ำอยู่แล้ว ก็เพียงแค่เอาพันธุ์ผักหวานป่าไปลงปลูก ดูแลให้ถูกวิธี ปลูกให้ถูกตำแหน่ง ก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้สวนของตัวเองได้ สวนผลไม้บางปีอากาศไม่ดีไม่ติดดอกออกลูกก็มี ทำให้ในปีนั้นๆขาดรายได้  แต่ถ้ามีต้นผักหวานป่าแซมลงไปด้วย ต้นผักหวานป่าเก็บยอดขาย ไม่ได้เก็บเก็บลูก เก็บผลขาย ไม่มีทางทรยศเจ้านายผู้ให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างแน่นอน 

สำหรับสวนผลไม้ที่มีขนาดใบที่ใหญ่ จะสามารถปลูกผักหวานแซมลงไปได้ ในตำแหน่งระหว่างทรงพุ่มเท่านั้น เพราะจะได้รับปริมาณแสง ในบางช่วงของวัน ตำแหน่งระหว่างทรงพุ่มได้รับแสงแดด 100% ก็จริงแต่ไม่ได้โดนแสงแดดตลอดทั้งวันจึงมีผลทำให้ต้นผักหวานป่ารอดตายและโตเร็วได้เช่นกัน 

เริ่มต้นปลูกด้วยการเตรียมพื้นที่ปลูกที่ดี จะทำให้ดูแลง่าย โตเร็ว ปัญหาตามมาน้อย

ท่านนักปลูกที่มีความสนใจปลูกผักหวานป่าต้องการข้อมูลการปลูกผักหวานป่าเชิงลึก ที่ถูกต้อง ไม่ต้องหลงทางเสียเวลาสามารถติดตามอ่านบทความ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้นะครับ

 

6facebook fanpage https://web.facebook.com/parkwanpa/

https://web.facebook.com/kladeeee/

Line
ID @kladee.com 

https://line.me/R/ti/p/%40kladee.com

โทร 0816558262 

ต้น กล้าดี

“ผมเริ่มทำเกษตรโดยเริ่มจากการปลูกผักหวานป่า เริ่มจากความเชื่อของตัวเอง และความไม่เชื่อของคนอื่น เพียงแค่ความเชื่อ ไม่ได้ช่วยให้สำเร็จอะไรได้เลย หากปราศจากวิธีการที่ถูกต้อง “

การปลูกผักหวานป่า

จุดเริ่มต้นของการปลูกผักหวานป่า

จุดเริ่มต้นของการปลูกผักหวานป่า  ของแต่ละคนนั้น  ไม่เหมือนกัน   Admin เองก็เช่นเดียวกัน  ได้เริ่มปลูกผักหวานป่ามาจากความเชื่อ  ของตัวเอง และความไม่เชื่อของคนอื่น พอจะรู้ดีว่า ความเชื่ออย่างเดียวนั้นไม่พอ ที่จะทำให้การปลูกผักหวานป่านั้นประสบตวามสำเร็จได้ ความรู้และวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น จึงจะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดที่ท่านนักปลูกต้องการได้ 

ทำไมผักหวานป่าจึงเป็นไม้ยอดนิยม  ที่ผู้คนให้ความสนใจปลูก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น ประเทศลาว กระแสของการปลูกผักหวานป่านั้นสูงมาก ปลูกสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง ก็ว่ากันไปตามกรณี แต่ก็ไม่ได้ทำให้กระแสนนั้นลดลงไปได้เลย 

เนื่องจากยอดอ่อน ของผักหวานป่านอกฤดูนั้น ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของผู้บริโภคภายในประเทศ และต่างประเทศ  ไม่นับรวมยอดผักหวานป่าในฤดูกาล ช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี  ช่วงนี้ผลิตมีปริมาณมาก ล้นตลาด เพราะชาวบ้านผู้หาของป่า จะเก็บยอดจากในป่ามาส่งขาย ให้พ่อค้าคนกลาง กระจายส่งยอดอ่อนผักหวานป่า ทั่วประเทศ ทำให้ช่วงนี้ยอดผักหวานราคาถูก แต่สำหรับผักหวานป่านอกฤดูนั้น ราคาสูงลิบลิ่ว “ช่วงนี้บ้านไหนแกงผักหวานป่า ” จะไม่มีการเรียกใครๆให้มาทานข้าวด้วยกันเป็นแน่ เพราะผักหวานป่าอร่อยและราคาแพง แต่ถ้าวันไหนแกงผักกาด ค่อยเรียกเพื่อนบ้านหรือคนอื่น มานั่งล้อมวงกินแกงผักกาดด้วยก็แล้วกัน…

สำหรับการปลูกผักหวานป่า ในเกษตรแปลงใหญ่นั้น ยังไม่มีวิธีการที่แน่นอน ผู้คนส่วนใหญ่ยังหลงทางปลูกในวิธีที่ผิด ไม่มีการวางแผนการปลูกที่ดี ทำให้เสียงบประมาณส่วนเกินโดยไม่จำเป็น และที่สำคัญมากที่สุดคือ  “เสียเวลา”  การวางแผนการปลูกที่ดีนั้นจะทำให้ไม่เสียเวลา และประหยัดงบประมาณอีกด้วย วิธีการที่ถูกต้องนำมาซึ่งการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่อง และผลลิตที่มีคุณภาพ 

การลูกผักหวานป่านับแต่นี้ต่อไป  ไม่ต้องหลงทางเสียเวลาเหมือนการปลูกผักหวานยุคเก่าแล้ว  ปัจจุบันเกษตรกรรุ่นใหม่ได้ปลูกบนพื้นฐานของการทำเกษตร ที่วัดผลได้ มีทฤษฏีรองรับ ไม่ได้ปลูกตามความเชื่อโดยไร้ทฤษฏีทางการเกษตรสนับสนุน ผักหวานป่าก็เหมือนต้นไม้ทั่วไป มีความต้องการพื้นฐานเหมือนต้นไม้ทั้่วๆไป  ต้องการน้ำ อาหาร ปุ๋ย ในระดับที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ดังนั้น เทคนิคการปลูกผักหวานป่า ก็ไม่ใช่เทคนิคที่แปลกพิศดารอะไรเลย เป็นทฤษฏีพื้นฐานทางการเกษตร ที่ทุกคนละเลยไม่ให้ความสนใจตั้งแต่ต้น  กลับไปปลูกตามความเชื่อและวิธีที่ผิดๆ ของคนอื่น ไม่สังเกตุไม่เปลียนแปลงและปรับปรุงวิธีการปลูกของตัวเองให้ดีขึ้นตามเหตุอันควร

สำหรับการปลูกผักหวานป่านั้น ไม่ได้ง่ายเท่ากับการ ปลูกไผ่ แต่ก็ไม่ได้ยากเท่ากับการปลูก ทุเรียน แต่ถ้าปลูกแล้วได้รอดแล้ว สวนผักหวานป่าจะกลายเป็นมรดกตกทอดไปยังลูกหลาน เพราะต้นผักหวานป่าเป็นทั้งผักและเป็นไม้ยืนต้น ที่อายุยืนเป็นร้อยปี ปลูกวันนี้ลูกหลานจะมีมรดกทางอาหารที่ยั่งยืน 

วิธีการปลูกผักหวานป่า

การปลูกผักหวานป่าจะมีวิธีการดังต่อไปนี้ 

1 ปลูกด้วยเมล็ด

2 ปลูกด้วยต้นกล้า

3 ปลูกด้วยกิ่งตอน

ซึ่งการปลูกด้วยเมล็ดจะได้รับความนิยมมากที่สุด ประหยัดงบมากที่สุด และได้ผลดีในระยะยาวมากที่สุด 

สำหรับผู้ที่สนใจปลูกผักหวานป่าที่พึ่งเริ่มปลูกแล้วไม่ประสบความล้มเหลวในปีแรกๆมักจะมีสาเหตุดังต่อไปนี้ 

1พื้นที่ปลูกไม่มีความพร้อม

เนื่องจากผักหวานป่าไม่ชอบแสงแดดที่มีปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องปรับพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับการปลูกผักหวานป่า ในขณะที่ผู้สนใจปลูกเป็นจำนวนมากได้ทำการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ โดยที่ไม่มีการเตรียมความพร้อมในส่วนของพื้นที่ปลูก ส่งผลให้การปลูกผักหวานป่าไม่ประสบผลสำเร็จ 

ดังนั้นควรเตรียมพื้นที่ปลูกผักหวานป่าเอาไว้แต่เนิ่นๆ พอได้รับเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าแล้วก็สามารถนำไปปลูกได้ทันที่ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมพื้นที่ เพราะว่าในขณะที่เตรียมพื้นที่เมล็ดพันธุ์ก็จะมีอัตราการงอกที่ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าจะคายน้ำและทยอยฝ่อตายลงไปเรื่อยๆ ปกติแล้วหลังจากเก็บเมล็ดพันธุ์มาจากต้นแม่พันธุ์ จะต้องเพาะปลูกภายใน 7 วัน หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์การงอกก็จะลดลง 

2ไม่มีความรู้เรื่องผักหวานป่า 

เมื่อไม่มีความรู้เชิงลึกเรื่องผักหวานป่าแล้ว ก็จะส่งผลต่อการวางแผนการปลูกที่ผิดพลาดปัญหาต่างๆก็จะตามมามากมาย การลงทุนปลูกระดับ 1-10 ไร่ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนไม่น้อย ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง รอบคอบ ศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผักหวานป่าให้ละเอียดก่อนลงมือปลูก ถ้าไม่มีเวลาก็จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อประสิทธิภาพในการปลูกผักหวานป่า เนื่องจากผักหวานป่า เป็นทั้งผักและไม้ยืนต้นขนาดกลางที่โต้ช้ากว่า ต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่า เช่นต้น สัก ประดู มะค่า ตามธรรมชาติแล้วก็จะอาศัยร่มเงาไม้ใหญ่เหล่านี้โดยปริยาย การที่จะนำต้นผักหวานป่ามาปลูกในรูปแบบ สวน นั้นก็ต้องนำข้อมูลลักษณะทางพันธุกรรม มาเป็นนองค์ประกอบในการวางแผนการปลูกด้วย 

3ไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องการเกษตร 

มีความเข้าใจผิดกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับลักษณะของดินที่ต้นผักหวานป่าชอบ ซึ่งดินที่ผักหวานป่าชอบนั้นเป้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์  ไม่ใช่ดินภูเขา ไม่ใช่ดินปนหิน ตามที่เช้าผิดกันอยู่แต่อย่างได 

 แต่ละวิธีมีขั้นตอนและเทคนิคที่แตกต่างกัน และในแต่ละพื้นที่ปลูกของจังหวัดที่แตกต่างกัน ก็จะมีวิธีการที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกของตัวเอง 

ต้นผักหวานป่านั้นก็ไม่ต่างจากต้นไม้ชนิดอื่นๆโดยทั่วไป ต้องการดินที่มีคุณภาพ มีความโปร่ง ร่วน ซุย มีปริมาณ น้ำและแร่ฐาตุที่เพียงพอ ที่จะส่งผลให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีคุณภาพที่ดีเหมาะแก่การเจริญเติบโต

ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีคุณภาพที่ดี

 ซึ่งดินที่มีคุณภาพที่ดีนั้นก็จะประกอบไปด้วย 

ของแข็ง 50% ปรกอบด้วย อนินทรีย์วัตถุ 45% อินทรีย์วัตถุ 5% 

และช่องว่าง 50% ประกอบด้วย น้ำ 25% อากาศ 25%

องค์ประกอบของดินที่มีคุณภาพ ได้ถูกค้นพบมาตั้งนานแล้ว และก็ได้ถูกเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ มานมนานแล้ว แล้วแต่ผู้คนกลับไม่ให้ความสนใจเรื่องพื้นฐานใกล้ตัว แต่ไปให้ความสำคัญในเรื่องไกลตัวจนหลงทางเสียเวลา และก็ทำให้การปลูกต้นไม้ชนิดต่างๆล้มเหลว ไม่เว้นแม้แต่ต้นผักหวานป่าก็ตาม 

สรุปแล้วถ้าอยากประสบผลสำเร็จในการปลูกผักหวานป่าควรเริ่มศึกษาทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับ ดิน และ พื้นที่ปลูกก่อน เมื่อเข้าใจถ่องแท้เกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานตรงนี้แล้ว ค่อยไปศึกษาเรื่องอื่นๆเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วิธีการปลูก พันธุ์  การให้ปุ๋ย การดูแล และเรื่องอื่นๆ เพราะถ้าดินคุณภาพไม่ดี ปลูกไปก็โตช้า มีปัญหาตามมามากมาย 

จากประสบการณ์ปลูกผักหวานป่าของ Admin 11  ปีที่ผ่านมา ได้รู้ได้เห็นพัฒนาการของต้นผักหวานป่านับ หมื่นนับแสนต้น ตั้งแต่ต้นแม่พันธุ์ผักหวานป่าแทงช่อดอก จากดอกผักหวานกลายเป็นเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะเป็นต้นกล้า นำต้นกล้าไปปลูกดูแลให้น้ำให้ปุ๋ยกลายเป็นต้นผักหวานป่าที่โตเต็มวัย ให้ยอดได้เก็บแกงเก็บขาย และตอนกิ่งขยายพันธุ์ได้ สามารถสรุปได้ว่า การปลูกผักหวานป่าจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่กระบวนความคิด การวางแผนการปลูกที่เป็นขั้นเป็นตอน วิธีการปลูกนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนมากมายอะไรจนเกินไป ปลูกได้ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ก็สำเร็จตั้งแต่ต้นไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว แต่ถ้าปลูกด้วยวิธีการที่ผิด ยุ่งยากซับซ้อนก็จะล้มเหลวตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายก็ลงเอยด้วยความล้มเหลวอยู่ดี วิธีการที่ถูกต้องก็เปรียบเสมือเข็มทิศนำทางนำไปสู่จุดหมายปลายทางตามที่หวังเอาไว้  

การปลูกผักหวานป่าบนแปลงใหญ่ ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้นจำเป็นต้องเตรียมพื้นที่ให้พร้อม และวางแผนการปลูกให้รัดกุมที่สุด…

ท่านนักปลูกที่มีความสนใจปลูกผักหวานป่า ต้องการข้อมูลการปลูกผักหวานป่าเชิงลึก ที่ถูกต้อง ไม่ต้องหลงทางเสียเวลาสามารถติดตามอ่านบทความ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้นะครับ

facebook fanpage https://web.facebook.com/parkwanpa/

https://web.facebook.com/kladeeee/

Line
ID @kladee.com 

https://line.me/R/ti/p/%40kladee.com

โทร 0816558262 

ผมยินดีถ่ายทอดวิธีการปลูกผักหวานป่า ที่ง่ายที่สุด ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ให้กับท่านนักปลูกที่สนใจที่จะปลูกผักหวานป่า เพื่อเป็นมรดกทางอาหารให้กับคนรุ่นหลังติดต่อได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

นาย กล้าดี

“ผมเริ่มทำเกษตรโดยเริ่มจากการปลูกผักหวานป่า เริ่มจากความเชื่อของตัวเอง และความไม่เชื่อของคนอื่น เพียงแค่ความเชื่อ ไม่ได้ช่วยให้สำเร็จอะไรได้เลย หากปราศจากวิธีการที่ถูกต้อง “

 

เชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม

เชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม Clostridium botulinum

เป็นแบคทีเรียแกรมบวก มีรูปร่างท่อน สร้างสปอร์และทนต่ออุณหภูมิ 100 °C         ได้นานถึง 5-10  ชั่วโมง   ดำรงชีวิตได้ที่อุณหภูมิ 30-37 °C     ในสภาวะที่ไม่มีอากาศ(Anaerobic bacteria )พบได้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน และน้ำ ในระดับ pH ที่ต่ำกว่า 4.6 สามารถยับยั้งการเจริญของสปอร์ได้ เรามักจะพบแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทั่วไปในธรรมชาติ ทั้งบนบกและในน้ำ

สามารถดำรงชีวิตได้ดีในสิ่งแวดล้อมที่เป็นกรดอ่อนๆ (pH อยู่ในช่วง 4.8 – 7)แบคทีเรียชนิดนี้มีความสามารถในการแพร่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งได้ง่าย ตัวอย่างเช่น
จากการปนเปื้อนในดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืช และอาจมาจากเศษดินที่ติดมากับผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆหรือในลำไส้ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แต่แบคทีเรียนี้จะสามารถผลิตสารพิษ botulinum toxin
ได้เฉพาะช่วงที่สร้างสปอร์ ซึ่งจะเกิดแค่ในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเท่านั้น
Nitrosomonas
เป็นแบคทีเรียที่มีความสำคัญในการตรึงไนโตรเจนของพืช ในวัฏจักรไนโตรเจน เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่ม
Aerobic Bacteria ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต เพื่อทำการย่อยสลายแอมโมเนีย ให้เป็น ไนไตรท์ (NO 2 )
ซึ่งไนไตรท์ถึงจะมีความรุนแรงไม่เท่าแอมโมเนีย แต่ก็ยังเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิดอยู่ดี
แบคทีเรียชนิดนี้จะอาศัยอยู่ใน pH ช่วง 6.0-9.0 และมีอุณหภูมิอยู่ในช่วงระหว่าง 20 – 30 °C
แบคทีเรียหลายชนิดในสกุลนี้ส่วนใหญ่ เคลื่อนที่ได้โดยมี flagellum

อะโซโตแบคเตอร์

เชื้ออะโซโตแบคเตอร์ Azotobacter sp.

เป็นจีนัสของแบคทีเรียที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เป็นแบคทีเรียที่มีผนังหนา รูปร่างไม่เสถียร ย้อมติดสีแกรมลบ และสามารถผลิตเมือกจำนวนมาก ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต (Aerobic Bacteria) อาศัยอยู่อย่างเป็นอิสระในดิน มีหน้าที่สำคัญในการตรึงไนโตรเจน ใช้เป็นส่วนประกอบของปุ๋ยชีวภาพ ในดินจะมีเชื้ออะโซโตแบคเตอร์อยู่หลายชนิดและมีปริมาณขึ้นอยู่กับคุณภาพของดินและสิ่งแวดล้อมในบริเวณ
นั้น ๆ แต่จะพบมากที่สุดในบริเวณรากของพืช โดยทั่วไปแล้วเชื้อแบคทีในกลุ่มอะโซโตแบคเตอร์จะไม่อาศัยอยู่ที่ผิวรากของพืชแต่จะมีมากในเขตรากพืช (rhizosphere) ในพืชบางชนิดรากพืชจะขับสารออกมา (root exudate) ซึ่งมีทั้งกรดอะมิโนน้ำตาล วิตามิน และกรดอินทรีย์รวมทั้งส่วนของรากพืช ที่กำลังสลายตัวอยู่นั้นจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่ทำให้เชื้อดังกล่าวเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างมากมาย
ได้ การเจริญเติบโตและการตรึงไนโตรเจนของเชื้อนอกจากจะใช้สารที่ขับออกมาจากรากพืชแล้ว แบคทีเรียยังต้องการสารอินทรีย์อื่น ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งของพลังงานอีก ดังนั้นการเติม อินทรียวัตถุต่าง ๆ ลงไปในดินก็จะช่วยทำให้มีการตรึงไนโตรเจนสูงขึ้นด้วย โดยปกติการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนได้มากในอุณหภูมิระหว่าง 20 – 45 °C และจำนวนแบคทีเรียจะลดลงถ้าอุณหภูมิมากกว่า 45 °C อุณหภูมิต่ำสุด สำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 14 °C

อุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของเชื้ออะโซโตแบคเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 32 °C เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ทนอุณหภูมิ 50 °C ได้นาน 10 นาที และจะตายลงเมื่ออุณหภูมิสูง 60 °C นาน 10 นาที

จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ในดิน ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในดินที่มีผลต่อพืช

ดินเป็นแหล่งที่มีจุลินทรีย์อยู่มากมาย  หลากหลายชนิดในธรรมชาติ
ทั้งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์และต่อพืชผักต่าง ๆ  ตัวอย่างเช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แอกติโนไมซีต และสาหร่าย

จุลินทรีย์เป็นรา….หรือราเป็นจุลินทรีย์?
หลายคนคงสงสัยกับคำถามนี้ว่าตกลง  ราเป็นจุลินทรีย์หรือจุลินทรีย์เป็นรากันแน่ ?
ก่อนอื่นทุกคนคงทราบกันดีนะครับ  ว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกของเรานี้  มีอยู่มากมายหลายชนิด รา ก็เช่นกัน
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับทั้งสองคำนี้กันก่อนนะครับ เริ่มที่ “ จุลินทรีย์ ” คือ
สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้จึงต้องใช้กล้องจุลทร
รศน์ในการส่องดูนั่นเอง ส่วน “ รา ”
เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ในรูปของเส้นใยหลายเซลล์ที่เรียกว่า ไฮฟา
จะเห็นได้ว่าคำสองคำนี้มีความเกี่ยวข้องกัน สรุปง่าย ๆก็คือ รา เป็นหน่วยย่อยของจุนลินทรีย์ คล้ายกับ
จุลินทรีย์เปรียบสเมือนจังหวัด ส่วน รา ก็คือ อำเภอนั้นเอง สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ล้วนมีความเกี่ยวข้องกันทั้งนั้น
เพราะจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตก็คือ “เซลล์” ดังนั้น รา ก็คือจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งนั่นเอง ……
“คำถามที่คนส่วนใหญ่สงสัยเป็นจุดเริ่มต้องของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตนเอง และส่งต่อให้ผู้อื่น”
….. ตอนนี้ทุกคนคงรู้และเข้าใจแล้วนะครับว่า “ราเป็นจุลินทรีย์”….
ซึ่งหน้าที่หลักของจุลินทรีย์ในดิน คือ ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์สารให้กลายเป็นอินทรียวัตถุในดิน
ดินที่พบอินทรียวัตถุสูงจะมีความอุดมสมบูรณ์สูงเพราะอินทรียวัตถุเป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจน และธาตุอื่น ๆ
ให้แก่พืช โดยจะปล่อยธาตุอาหารดังกล่าวออกมาให้พืชใช้ประโยชน์อย่างช้า ๆ
ในบทความนี้จะพูดถึงเฉพาะแบคทีเรีย ในแบคทีเรียหลายชนิดมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้
การตรึงไนโตรเจน คือ
การเปลี่ยนแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาเป็นสารประกอบเพื่อใช้ประโยชน์ให้กับตัวของจุลินทรีย์เอง
และจุลินทรีย์ก็จะปล่อยออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ สารเหนียวต่าง ๆ
ที่แบคทีเรียสังเคราะห์ขึ้นยังสามารถช่วยให้อนุภาคของดินเกาะกลุ่มเป็นเม็ดดินและเกิดโครงสร้างดิน

ดอกเก็กฮวย

เก็กฮวย001

เก็กฮวย

ภาษาอังกฤษ (Chrysanthemum indicum Linn )

                      วงศ์ (Compositae) 

               ภาษาจีน “菊花”  “จฺหวีฮัว” (júhuā) 

เก็กฮวย ในอดีตนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน ใช้เป็นสมุนไพรบำรุงสุขภาพ  โดยฉพาะการนำเอาดอกแห้งมาต้มเพื่อดื่มน้ำ ใช้เป็นส่วนผสมร่วมกับสูตรยาต้ม ใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในสูตรยาจีน เนื่องจากดอกเก็กฮวยมีกลิ่มหอมลมุน  สามารถปรับกลิ่นของยาต้มให้มีกลิ่มที่น่าดื่มยิ่งขึ้นได้

ในดอกเก็กฮวยนั้นมีสาร ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)

สาร ฟลาโวนอยด์ นั้นสามารถยับยั้งต่อต้านอนุมูลอิสระได้ สาร ซึ่งฟลาโวนอยด์ออกฤทธิ์ยับยังอนุมูลอิสระได้ดีกว่า วิตามินซีหลายเท่าตัว การทานน้ำเก็กฮวยเป็นประจำก็จะทำให้ปริมาณไขมันเลว แอลดีแอล (LDL)  ลดลงได้อีกด้วย ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็น โรคไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เลือดไหลเวียนได้เป็นปกติ ทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

      ในเดือน เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน ของทุกปี เกษตรกรจะเรี่มเตรียมต้นกล้าของดอกเก็กฮวย ด้วยการปลูกต้นแม่พันธุ์เพื่อให้แตกหน่อแล้วนำหน่อไปขยายปลูกลงในแปลงปลูกเป็นลำดับต่อไป การปลูกเก็กฮวยนิยมขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อไปปลูก  

      หลังจากนั้นในเดือน กรกฏาคม  ก็จะเป็นขั้นตอนของการเตรียมแปลงปลูก ในเดือน สิงหาคม ก็จะเริ่มลงมือปลูก หลังจากปลูกไปได้ 20 วันก็จะเรีมตัดแต่งกิ่งจัดทรงพุ่มให้พอดี  เพื่อให้ผลผลิตของดอกเก็กฮวยที่มีคุณภาพ  หลังจากปลูกผ่านไป 90 วัน ต้นเก็กฮวยก็จะเริ่มออกดอกแก่เต็มที่ให้ได้เก็บผลผลิต  ซึ่งระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตดอกเก็กฮวยจะเก็บได้เพียงแค่ 30 วัน จะสิ้นสุดการเก็บผลผลิตในช่วงต้นเดือน ธันวาคม ของทุกปี การปลูกดอกเก็กฮวยจะต้องคำนวณเวลาให้ออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเวลาที่ไม่มีฝนแล้ว ถ้าฝนตกใส่ดอกเก็กฮวยก็จะทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหายได้  

มะแขว่น

มะแขว่น 01

มะแขว่น

มะแขว่น ( Zanthoxylum limonella Alston)

วงค์ Rutaceae

มะแขว่น สมุนไพรและเครื่องเทศที่เวลานึกถึงแล้วทำให้เกิดความอยากอาหาร และทำให้เจริญอาหารเป็นยิ่งนัก ผู้คนในภาคเหนือ เวลาได้กลิ่น คั่วมะแขว่นลอยมากับลมถึงแม้จะอยู่ไกลจากการคั่วมะแขว่นก็ตาม ผู้คนมักจะนึกถึงลาบ โดยเฉพาะลาบควาย โดยแท้ที่จริงแล้วการคั่วมะแขว่นนั้นอาจนำไปใส่ ลาบหมู แกงผักกาด ยำไก่ และสารพัดเมนูอาหารเหนือ  เมนูอาหารเหนือเกือบทั้งหมดต้องมีมะแขว่นเป็นส่วนประกอบ มะแขว่นนั้นไม่ได้มีดีแค่กลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวอาหาร แต่มะแขว่นนั้นมากมายด้วยสรรพคุณทางยาบำบัดและฟื้นฟูร่างกายได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะแขว่น

มะแขว่นเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีหนามตามลำต้น  และกิ่งก้าน  ใบมีประมาณ 7 คู่ ใบมีมาลักษณะยาวเรียวปลายใบแหลม   ก้านดอกยาว ดอกออกเป็นช่อในก้านเดียวกันมีหลายช่อ  ดอกสีขาวมีขนาดเล็ก เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่คนละต้น  จะออกดอกประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน ผลมีลักษณะเกลี้ยงกลม  เมือผลแก่จ้ดจะแตกอ้าจนเห็นเมล็ดสีดำกลมด้านใน  ซึ่งผิวของเมล็ดจะเรียบมีสีดำเงา   ผิวของผลมะเขว่นจะมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายๆผักชีแต่หอมกว่ามาก  มีรสเผ็ดเล็กน้อย ทานผลสดดิบๆที่เก็บจากต้นมาใหม่ๆเวลาทานจะชาลินนิดหน่อย จนได้รับฉายาว่าเป็น วาซาบิ เมืองไทย 

มะแขว่น 004

สรรพคุณของมะแขว่น

สรรพคุณทางยา แพทย์แผนโบราณใช้รากและเนื้อไม้มะแขว่นเป็นยาขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการลมขึ้นเบื้องสูง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต เป็นยาขับประจำเดือน แต่ไม่ให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เมล็ดมะแขว่นนำไปสกัดเป้นน้ำมันหอมระเหยได้ ตำรายาแผนโบราณใช้ผลมะแขว่นเป็นส่วนประกอบในยาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้มะแขว่นเป็นส่วนผสมในยาต้มเพื่อแก้โลหิตเป็นพิษและขับระดูพิการ

มีแขว่นในประเทศไทย จะมี 2 สายพันธุ์

1 มะแขว่นสายพันธุ์สีเขียว  2 มะแขว่นสายพันธุ์สีแดง

มะแขว่น และพริกหอมมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่ใช่พืชชนิดเดียวกัน ด้วยกลิ่นที่หอมฉุน และมีรสเผ็ดอ่อนๆ เวลาทานจะรู้สึกชาลิ้นเหมือนกัน พริกหอมใช้ในเครื่องปรุง หม่าล่า อาหารปิ้งย่างสไตล์ยูนนาน พริกหอมในภาษาจีนจะเรียกว่า ซวงเจีย

ยอดอ่อน และผลอ่อนของมะแขว่น นำมาประกอบอาหารได้

ภาคเหนือนิยมนำยอดอ่อนและผลสด นำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ยำ ผลใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นลาบ แกง น้ำพริก อาหารเหนือเกือบทั้งหมดจะขาดเครื่อเทศที่เรียกว่า มะแขว่น ไม่ได้เลย มะแขว่นคือ เอกลักษณ์ของอาหารเหนือ ได้กลิ่นคั่วมะแขว่นลอยตามลมมาก็เกิดอาการท้องร้องอยากทานอาหารขึ้นมาเลยทีเดียว

ภาคใต้นิยมใช้ผสมในเครื่องแกง แช่นแกงเผ็ด แกงคั่วประเภทต่างๆ ช่วยให้แกงมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอมเพิ่มอรรถรสให้กับอาหาร มะแขว่นมีกลิ่นหอมฉุนสามารถกลบกลิ่นคาวของอาหารได้

ด้วยสรรพคุณ และมีกลิ่นหอมฉุนอันเป็นเอกลักษณ์ มะแขว่นเป็นเครื่องเทศอันดับ 1 ของภาคเหนือ และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ในภาคอื่นๆก็นิยมบริโภคเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาควันออก  มะแขว่นจึงเป็นไม้เศรษฐกิจที่น่าปลูกอีกชนิดหนึ่ง มะแขว่นนั้นขี้นชื่อว่าเป็นไม้ปราบเซียนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งการเพาะพันธุ์มะแขว่นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการปลูกมะแขว่นในรูปแบบสวนจึงยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย ผลผลิตมะแขว่นส่วนใหญ่นั้นจะมาจาก ป่ามะแขว่นตามธรรมชาติ มีมากที่สุดที่จังหวัดน่าน และแพร่กระจายพันธุ์ในป่าทั่วไปในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็น เชีงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา 

ฤดูกาลเก็บมะแขว่นจะเริ่มในช่วงต้นพฤศจิกายน ของทุกปีและจะสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวผลมะแขว่นในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี มะแขว่นต้นที่โตเต็มที่อายุ10 ปีเป็นต้นไปจะให้ผลผลิต 30 – 40 กิโลกรัมต่อต้น พ่อค้าแม่ค้าจะมารับซื้อมะแขว่นสดในราคา กิโลกรัมละ 50 บาท มะแขว่นที่ตากแห้งแล้วกฺิโลกรัมละ 150 บาท สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับชาวบ้าน ที่ปีนต้นมะแขว่นเพื่อสรอยผลมะแขว่นขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า นั่นเท่ากับว่าชาวบ้านปีนสรอยผลมะแข่วน 1 ต้นจะมีรายได้ 1500-20000 เลยทีเดียว

การตากมะแขว่น

เมือเก็บผลสดมะแขว่นมาจากต้นแล้วจะต้องรีบนำมาตากแดด โดยตากให้ครบทุกด้านพลิกกลับไปกลับมา เก็บมาแล้วไม่รีบนำมาตากจะทำให้ผลมะแขว่นเน่าเสียหายและขึ้นราได้ การตากมะแขว่นนั้นต้อมัดพวงมะแขว่นให้พอดี ถ้าทำมัดใหญ่เกินไปก็จะทำให้แห้งช้าเพราะการทำมัดใหญ่เกินไปนั้นจะทำให้มีมุมอับที่แสงแดดส่องไม่ถึง

มะแขว่นที่ตากแห้งแล้ว

เมื่อตากมะแขว่นจนแห้งได้ที่แล้วก็นำไปใส่ภาชนะที่ปิดสนิท เช่นนำไปแพคใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันอากาศและความชื้อเข้าไปในผิวมะแขว่นที่ตากแห้ง ถ้าไม่ใม่เก็บไว้อย่างมิดชิดคุณภาพของมะแขว่น ทั้งรสและกลิ่นมะแขว่นจะไม่ดี กลิ่นจะหืนและมีรสเปรี้ยวไม่หอมเวลาที่นำไปประกอบอาหาร

————————————————————-

แหล่งที่มา:การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจำแนกศักยภาพพื้นถิ่นที่ขึ้นของไม้มะแขว่น/ต่อลาภ คำโย และคณะ /มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เรียเรียงโดย:kladee.com

อุทกวิทยา

วิชาอุทกวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Hydrology

เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่กล่าวถึงน้ำ

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดคำจำกัดความของวิชานี้แปลได้ดังนี้ “
อุทกวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งกล่าวถึงน้ำในโลก การเกิดดับผันแปร การเคลื่อนที่หมุนเวียน การแผ่กระจาย
คุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของน้ำและปฏิกิริยาของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อน้ำอันรวมถึงสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ด้วย

จากคำจำกัดความดังกล่าว ฟังคล้ายกับว่าอะไรเป็นน้ำก็คืออุทกวิทยา
แต่เท่าที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันได้จัดวิชาที่เกี่ยวกับน้ำไว้ในประเภทยีออฟิสิกส์และแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะสาขาคือ Oceanography กล่าวถึงน้ำในทะเลมหาสมุทร, Hydrometeorology กล่าวถึงน้ำในบรรยากาศ
และ Hydrology กล่าวถึงน้ำ ส่วนที่ไม่ใช่ในทะเลมหาสมุทร ไม่ใช่ในบรรยากาศ ก็จัดอยู่ในอุทกวิทยาทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ดี น้ำทั้ง 3 ลักษณะย่อมเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวพันกันอยู่ดี เช่น น้ำทะเลขึ้นลงกระทบกระเทือนถึงน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำชายทะเล ไอน้ำในบรรยากาศกลายเป็นฝน ซึ่งเป็นต้นทุนของน้ำท่าที่ไหลอยู่ในแม่น้ำลำธารเหล่านี้ เป็นต้นการศึกษาทางอุทกวิทยาจึงต้องศึกษาล้ำเข้าไปในเรื่อง น้ำทะเลและน้ำในบรรยากาศบ้างพอสมควร นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้ากันว่าวิชาอุทกวิทยานี้เริ่มมีมานานเท่าใด มนุษย์รู้จักใช้น้ำมานานนับพันๆปี ก็เชื่อได้ว่าการศึกษาเรื่องน้ำต้องมีแน่ อากาศหลักฐานที่บันทึกไว้เมื่อ 300 ปีมาแล้วนักวิทยาศาสตร์เริ่มรู้จักการวัดปริมาณน้ำที่ไหลอยู่ในลำน้ำ จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มของอุทกวิทยา เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2517 นักวิทยาศาสตร์ได้ฉลองครบรอบ 300 ปี ขอลอุทกวิทยากันที่นครปารีส ซึ่งหมายความว่า วิชาอุทกวิทยาได้ดำเนินมา 300 ปีแล้ว และตลอดเวลาได้ทำการทดลองตรวจวัดต่าง ๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์เสียเป็นส่วนใหญ่ จากปี พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา จึงนับได้ว่าเป็นยุครุ่งอรุนของวิทยาศาสตร์ฝ่ายอุทกวิทยา
คือเริ่มอธิบายปัจจัยทางอุทกวิทยากันด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
โดยสรุปกล่าวได้ว่า วิชาอุทกวิทยา กล่าวถึงเรื่องน้ำจืดที่เกิดขึ้น ณ แหล่งน้ำต่าง ๆ ในโลกนั้นเอง การศึกษาทางอุทกวิทยาต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอีกหลายสาขาวิชาประกอบกันในการตรวจเก็บข้อมูลทางอุทกวิทยา การประเมินผลและการประยุกต์ใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการออกแบบเชิงอุทกวิทยาของแหล่งน้ำ

ตลอดเวลาที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ร่วมมีอกันศึกษาค้นคว้าวิจัยแลกเปลี่ยนผลงานและความคิดเห็นและแม้ปั จจุบันก็ยังดำเนินไปไม่หยุดยั้ง

ทรัพยากรน้ำ หมายถึง น้ำจืดที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาตในแต่ละแหล่งน้ำนั้นเอง น้ำที่เคลื่อนที่หมุนเวียนอยู่ในโลก มีสถานะต่าง ๆ ที่สำคัญคือ น้ำฝน น้ำท่า และน้ำใต้ดินซึ่งเป็นสถานะที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ น้ำฝนจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที     เช่นฝนตกตรงลงในแปลงเพาะปลูกแต่เมื่อเทียบสัดส่วนปริมาณน้ำฝนที่ตกกับที่ใช้ประโยชน์ได้ทันทีแล้ว จะเห็นว่าที่ใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อย น้ำฝนที่กลายเป็นน้ำท่าไหลลงแม่น้ำลำธารนั้นก็เหมือนกัน เรามักจะใช้ไม่ทันแล้วไหลลงทะเลไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเราจะเก็บน้ำส่วนเกินเหล่านั้นไว้ใช้ประโยชน์ในระยะที่ไม่มีน้ำฝน หรือน้ำท่าแล้วก็ต้องมีเครื่องมือและวิธีการอีกหลายประการ
น้ำท่าในแม่น้ำลำธารตา ธรรมชาติย่อมไหลลงทะเลอยู่ตลอดเวลา มนุษย์มักใช้ประโยชน์จากน้ำท่าเหล่านั้นได้น้อย หากไม่มีการควบคุมเก็บกักบังคับน้ำให้เหมาะสม ในการนี้จึงต้องมีการ “ พัฒนาแหล่งน้ำ ” เพื่อใช้ประโยชน์ของน้ำมากยิ่งขึ้น งานพัฒนาแหล่งน้ำ หมายถึง กิจกรรมที่กระทำขึ้นเพื่อควบคุมบังคับน้ำในแหล่งน้ำ หนึ่ง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ โดยปกติเป็นงานที่ลงทุนสูง ต้องใช้วิทยาการต่าง ๆประกอบ  และใช้ความรู้ของปรากฏการณ์ธรรมชาติของน้ำในแหล่งน้ำนั้น ๆ เป็นหลัก นั่นคือการศึกษาทางอุทกวิทยาของแหล่งน้ำนั่นเอง การตรวจสอบศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางอุทกวิทยาเป็นการจับปรากฏการณ์ธรรมชาติของน้ำ ซึ่งปรากฏว่า ในแต่ละแหล่งน้ำจะเกิดดับผันแปรแตกต่างกันอยู่ทุกปี เมื่อได้ทราบเกณฑ์การเกิดน้ำท่าในแต่ละแหล่งน้ำดีแล้ว จึงกำหนดวิธีการเก็บกักควบคุมบังคับให้เหมาะสม เพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป กิจการต่าง ๆ ในงานพัฒนาแหล่งน้ำงานพัฒนาแหล่งน้ำเท่าที่ดำเนินงานกันอยู่ในประเทศต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ
อาจแบ่งเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ได้คือ การชลประทาน การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ น้ำอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรม การเดินเรือ นอกจากนั้น ยังมีกิจการที่ต้องทำประกอบเพื่อให้สอดคล้องกันอีก คือการควบคุมอุทกภัย การระบายน้ำ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในแต่ละแห่งมักมีวัตถุประสงค์มากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป เรียกว่า
โครงการอเนกประสงค์ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำมากจะร่วมมือกับกิจการอื่น ๆได้ดี เนื่องจากเป็นการใช้แรงของน้ำให้ตกผ่านหมุนกังหัน เพื่อขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ได้ใช้เนื้อน้ำ น้ำที่ปล่อยผ่านกังหันก็จะไหลไปตามลำน้ำ ซึ่งทางตอนล่างสามารถเอาไปใช้ประโยชน์อื่น ๆได้อีก

การชลประทาน

งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน นับว่าเป็นกิจการหลักที่ทำกันในทุกประเทศ การชลประทานหมายถึง กิจการที่มนุษย์ทำขึ้นเพื่อน้ำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูก โดยปกติการชลประทานมักจะเป็นแบบส่งน้ำเพิ่มให้พืชในตอนที่ขาดฝน เพราะมักจะปลูกพืชกันในฤดูฝน น้ำฝนที่ตกลงมาในแปลงเพาะปลูกก็จะช่วยในการเติบโตของพืชโดยตรงได้ส่วนหนึ่ง โดยปกติแล้วที่จะมีฝนตกสม่ำเสมอลงมาพอเหทาะกับที่พืชต้องการตลอดระยะการเพาะปลูกนั้น ไม่ค่อยพบ มักจะปรากฎอยูเสมอว่า ฝนตกไม่ได้จังหวะกับการเพาะปลูก อาจตกชุกมากในระยะหนึ่งแล้วก็แล้งทิ้งระยะห่างไปอีกช่วงหนึ่ง หากเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ตลอดระยะการปลูกแล้วก็จะไม่ได้ผล จึงต้องส่งน้ำชลประทานไปช่วยในช่วงที่ขาด น้ำชลประทานนั้นมาจากไหน ก็คือน้ำท่าที่ไหลมาตามแม่น้ำลำธารตามธรรมชาตินั้นเอง น้ำท่าเกิดจากฝนที่ตกในลุ่มน้ำตอยเหนือขึ้นไป เอไหลมาถึงทำเลที่ต้องการใช้ต้องมีอาคารชลประทานบังคับน้ำให้ส่งไปยังแปลงปลูกในเขตโครงการได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำธรรมชาติเฉพาะลุ่มน้ำนั้น ๆ การชลประทานที่ดำเนินงานกันอยู่ทั่วไป มีหลักการคือนำน้ำท่าที่ไหลมาจากแม่น้ำลำธารผันเข้าไปสู่แปลงเพาะปลูกในจังหวะที่ฝนไม่พอหรือขาดฝน มักนิยมให้น้ำไหลไปโดยแรงดึงดูดของโลกโดยสร้างอาคารขวางลำน้ำ บังคับให้น้ำผันเข้าทุ่งได้ เช่น สร้างฝายหรือประตูอัดยกระดับน้ำของแม่น้ำแม้ในระยะที่มีน้ำน้อย ให้สูงพอที่จะไหลเข้าคลองส่งน้ำ คลองซอย และท่อส่งน้ำเข้านาส่งได้โดยแรงดึงดูดโลก และมักมีคันและคูน้ำสำหรับจ่ายน้ำไปยังแปลงนา การชลประทานระบบดังกล่าว เรียกว่าประเภท ทดและผันน้ำ ซึ่งจะสามารถใช้น้ำท่าของลำน้ำนั้น ๆ ได้ตามแต่จะมา ถ้าจังหวะใดฝนในลุ่มน้ำน้อยน้ำท่าจากต้นน้ำก็มีให้ผันเข้าทุ่งได้น้อยไปด้วย และถ้าจังหวะใดน้ำมากเหลือใช้ น้ำส่วนที่เหลือนั้นต้องปล่อยให้ระบายผ่านฝายหรือประตูระบายทิ้งไปตอนล่างทั้งหมด ส่วนหน้าแล้งหากไม่มีน้ำท่าเลยก็หยุดกิจการ การชลประทานแบบทดและผันน้ำมักจะทำได้เฉพาะหน้าน้ำเท่านั้น เพราะปกติหน้าแล้งฝนไม่ตก ก็ไม่เกิดน้ำท่า อาจมีเล็กน้อยที่เกิดจากน้ำใต้ดินในลุ่มน้ำค่อย ๆไหลซึมออกมา และมักพบในแม่น้ำใหญ่ ๆ เท่านั้น ดังนั้น หากลุ่มน้ำใดมีน้ำท่าในฤดูน้ำมาก และมีทำเลที่เหมาะสมจะสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ได้ ก็มักลงทุนสร้างอ่างเก็บน้ำ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ขึ้นเก็บน้ำไว้ใช้งานได้ตลอดปี และทำการปลูกพืชในฤดูแล้งได้อีกด้วย การใช้น้ำในการชลประทานนั้น เป็นการใช้แล้วหมดเปลืองไป เพราะพืชดูดน้ำไปเลี้ยงลำต้นและคายออกทางใบ น้ำในแปลงเพาะปลูกเองก็ระเหยไปสู่บรรยากาศตลอดเวลา ดังนั้น เนื้อที่ที่จะส่งน้ำชลประทานไปช่วยได้ จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ ต้นน้ำทุนนั้นเอง ซึ่งในที่นี้ หมายถึงน้ำท่าที่ไหลอยู่ในแม่น้ำลำธารทั่วไป แต่การสร้างโครงการชลประทานนั้น นอกจากน้ำต้นทุนแล้วยังต้องอาศัยทำเลที่จะก่อสร้างโครงการได้เหมาะสมอีกด้วย คืออาคารบังคับน้ำที่เป็นหัวงาน อาคารคลองส่งน้ำที่มีความลาดเทเหมาะสม และสามารถคลุมเนื้อที่ได้มากพอเหมาะสมอีกด้วย โดยหลักการก็คือการลงทุนสร้างโครงการชลประทานขึ้นมาก สามารถส่งน้ำไปเป็นประโยชน์แก่พื้นที่ได้มากพอที่จะทำการเพาะปลูกแล้วได้ผลผลิตคุ้มทุนนั่นเอง

อุทกวิทยากับการวางแผนใช้ที่ดิน

เป็นที่ยอมรับกันว่า ปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกก็คือ ดิน พืช และน้ำ
ซึ่งย่อมมีความเกี่ยวพันกันอยู่อย่างใกล้ชิด แม้ดินจะดี พันธุ์พืชดี แต่หากขาดน้ำ การเพาะปลูกพืชชนิดใดย่อมไม่ได้ผล แต่ก็เคยมีโครงการชลประทานที่ล้มเหลว แม้จะมีน้ำสมบูรณ์ เนื่องจากดินในเขตโครงการไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช ในการวางแผนออกแบบโครงการชลประทานจึงมีกฎเกณฑ์ว่า ต้องพิจารณาเรื่องดินด้วยว่าจะเหมาะสมกับการปลูกพืชเพียงใดหรือไม่
โดยทั่วไปคนจะทำการปลูกในบริเวณที่พบแล้วว่าเป็นดินดี มีน้ำเหมาะสม ซึ่งมักจะเป็นทุ่งราบริมแม่น้ำใหญ่ ได้รับน้ำเองตามธรรมชาติ ช่วยเสริมฝนในการเพาะปลูก แต่ในปัจจุบันปรากฏว่าพลเมืองที่เพิ่มขึ้นทุกปี ได้ลุกล้ำเปิดที่ทำกินกว้างขวางออกไปทุกที ที่ดินทุ่งราบบริเวณแม่น้ำใหญ่ค่อยๆหมดไป ริมแม่น้ำเล็กก็ค่อยๆหมดไป จนกระทั่งขยายรุกล้ำเข้าไปในที่นอนขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาการขาดน้ำหรือน้ำไม่พอกับการปลูกพืชเกิดขึ้น เนื่องจากการเพาะปลูกในบริเวณดังกล่าวนี้มักอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ซึ่งตกไม่สม่ำเสมอ และไม่ได้กับจังหวะที่พืชต้องการ เกษตรกรในบริเวณพื้นที่เหล่านี้มักจะขอให้ช่วยหาแหล่งน้ำ และทำการชลประทานให้กันอยู่ทั่วไป แต่ดังได้ดังกล่าวแล้วว่า การสร้างโครงการชลประทานนั้นต้องมีความเหมาะ ประกอบกันทั้งแหล่งน้ำและทำเลที่จะสร้างอาคาร ควบคุมบังคับน้ำ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะหาได้ในทุกท้องถิ่นและแม้ท้องถิ่นเหล่านั้นจะมีทำเลเหมาะสม มีแหล่งน้ำ แต่ถ้าหากดินไม่ดีพอกับการปลูกพืชแล้วก็ไม่อาจสร้างได้ เพราะจะไม่ได้ผลตอบแทนคุ้มกับค่าลงทุนในการวางโครงการชลประทาน การศึกษาอุทกวิทยา ทำให้ทราบว่า น้ำท่าในแต่ละแหล่งน้ำ จะมีมากน้อยอย่างไร จะมีในจังหวะเวลาใด
ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของน้ำท่าตามธรรมชาตินี้ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดขนาดและความแข็งแรงของอาคารประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งใช้กำหนดเนื้อที่ของโครงการด้วย 

การนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการชลประทานได้พื้นที่เท่าใดนั้นต้องพิจารณาเรื่องการใช้ที่ดินในเขตโครงการด้วยว่า ดินเหล่านั้นเหมาะสมจะปลูกพืชอะไร ปลูกในเนื้อที่เท่าใด และหากเราทราบอัตราความต้องการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดที่ปลูกในเนื้อที่โครงการแล้ว เราสามารถคำนวณหาปริมาณน้ำที่ส่งไปเพื่อการชลประทานในโครงการนั้น ๆ ได้และเมื่อเปรียบเทียบความต้องการใช้น้ำดังกล่าวปริมาณน้ำท่าที่มีตามธรรมชาติแล้ว
ก็จะสามารถกำหนดพื้นที่โครงการนั้น ๆ ได้ นี่คือหลักของการศึกษาการใช้น้ำในการวางโครงการชลประทาน ดังกล่าวแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูกนั้น จะมีความสัมพันธ์อยู่กับแหล่งน้ำ โครงการชลประทานโดยทั่วไป จึงมักมีปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดอยู่ คือน้ำและที่ดิน การสร้างโครงการขึ้นมาจะต้องลงทุนสูง หากขอบเขตของโครงการไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากที่ดินได้มากพอโดยที่จะมีน้ำหรือพื้นที่ดินเอง เป็นข้อจำกัดตามโครงการนั้น ๆ ก็อาจไดผลคุ้มค่าลงทุน
ต้องระงับการก่อสร้างไว้
ตามที่ได้กล่าวแล้วนี้ คงจะพอเป็นข้อคิดให้ท่านทั้งหลายพิจารณาได้ว่า อุทกวิทยา
นั้นแม้จะไม่เกี่ยวข้องกักการวางแผนใช้ที่ดินโดยตรงก็ตาม แต่ก็มีความสัมพันธ์กันโดยใกล้ชิด การวางแผนใช้ที่ดินนั้น ย่อมต้องพิจารณาถึงแหล่งน้ำด้วยเสมอไป หากจะใช้ที่ดินนั้นเพื่อกาเพาะปลูก

ดินเปรี้ยว ( Acid Soil ) เป็นดินที่มีความเป็นกรดสูงมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวที่เกิดจากตะกอนน้ำกร่อย
ความเป็นกรดของดินเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารประกอบซัลไฟด์ที่มีอยู่ทั่วไปในดินตะกอนน้ำกร่อยทำให้เกิดกรดกำมะถันสะสมอยู่ในดิน ดินเปรี้ยวที่กล่าวนี้มีสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ พืชจะไม่เจริญเติบโตได้ตามปกติทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ถ้าหากดินเปรี้ยวจัดหรือมีความเป็นกรดสูงอาจใช้ปลูกพืชอะไรไม่ได้เลย

ดินค่ำ ( Night Soil ) คืออุจระและปัสสาวะของมนุษย์ที่ขับถ่ายออกมา
ในประเทศจีนได้มีการใช้ดินค่ำใส่ลงไปในดินเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินมากกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ญี่ปุ่นจึงนำเอาดินชนิดนี้ไปวิเคราะห์ดูปรากฏว่ามีธาตุอาหารพืชโดยเฉลี่ยดังนี้
มีธาตุไนโตรเจน 0.51 % มีธาตุ KO 2 0.23 %
มีธาตุ P 2 O 5 0.10 % มีอินทรีย์วัตถุ 3 – 5 %

ดินจรจัด ( Transforted Soil ) ดินชนิดนี้เป็นดินที่เกิดขึ้นจากการผุพังของวัตถุหรือสารต่าง ๆที่ถูกน้ำลมพัดพาทับถมไว้ ดินจรจัดนี้เราอาจจะพบว่ามันวิวัฒนาการจากดินใหม่มาเป็นดินเก่ากลางใหม่

เสาวรส

เสาวรสผลไม้ประโยชน์เยอะ ปลูกไม่ยาก เป็นที่ต้องการของตลาด

เสาวรส ภาษาอังกฤษ  – passion fruit / Yellow granadilla

                                   / Jamaica honey-suckle

เสาวรส ภาษาพื้นบ้านกะทกรก

 

ในประเทศไทยมีการปลูกเสาวรสอย่างแพร่หลายมานานแล้ว เดิมทีจะปลูกเฉพาะเสาวรสพันธุ์สีเหลืองหรือที่เรียกว่าพันธุ์พื้นเมือง

พันธุ์เสาวรสที่ปลูกในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้

1 เสาวรสพันธุ์สีเหลือง  มีเปลือกสีเหลือง  และเนื้อข้างในจะมีเหลืองด้วยเช่นเดียวกัน

2 เสาวรสพันธุ์สีเม่วง  เปลือกมีสีม่วงเนื้อในจะมีสีเหลือง  หลังจากที่มีการนำพันธุ์เสาวรสสีม่วงเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประทศไทย   เสาวรสพันธุ์สีเหลืองจึงถูกเรียกว่าพันธุ์พื้นเมืองในเวลาต่อมา

3 เสาวรสพันธุ์ผสม  เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์สีเหลืองและสีม่วง  เปลือกจะมีสีม่วงอมแดงและเนื้อในจะมีสีเหลืองเช่นเดียวกัน

 

ผลของเสาวรสสุกมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายดังต่อไปนี้

สารเบต้าแครโรทีน ในเสาวรสมีสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ  ชลอการแก่ก่อนวัยอันควร  ทำให้เซลล์เสื่อมช้าลง  และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ดีขึ้นอีกด้วย

ใยอาหารปริมาณสูงในเสาวรส  มีสรรพคุณช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมันจากอาหาร  ที่ทานลงไปได้ช้าลง ร่างกายดูดซึมไขมันไม่ทันก็ถูกขับออกมาจากร่างกาย. โดยอุจาระ ช่วยลดความเสียงของโรคความดันโลหิตสูง. และบรรเทาอาการของโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย   เพราะใยอาหารนั้นช่วยลดไขมันอันตราย   คอเลสเตอรอล  และไตรกรีเซอไรด์ ได้นั้นเอง

สารโพแทสเซียมในเสาวรส. มีสรรพคุณช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้ปกติ   ปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย  ปรับสมดุลการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

วิตามินซีในเสาวรสมีสรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ  ช่วยลดความเสียงของโรคต่างๆ  ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ   ลดความเสื่อมของกระจกตา  ที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น ควันไฟ แสงแดด  ช่วยเพิมภูมิต้านทานโรคหวัด  ช่วยทำให้บาทแผลแห้งเร็วขึ้น

สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจ  เมื่อได้ทานน้ำเสาวรสสดๆเป็นประจำ โดยที่ไม่ได้ผ่านการปรุงรส จะมีผลทำให้อาการดีขึ้นตามลำดับ เป็นผลมาจากสารอาหารต่างที่มีอยู่ในผลเสาวสสุกช่วยฟื้นฟูปรับสมดุลร่างกายทำให้ร่างกายฟื้นตัวมีสุขภาพที่ดีขึ้น

การใช้ประโยชน์ของเสาวรส

ผลสุกของเสาวรสใช้แต่งหน้าขนมต่างๆได้อาทิเช่นใช้แต่งหน้าเค้ก

ผลสุกของเสาวรสนำไปทำไอศครีมได้

ผลสุกของเสาวรสนำไปหมักไวน์ได้

ผลสุกของเสาวรสนำไปทำซอสผลไม้ได้

ผลสุกของเสาวรสนำไปทำแยมได้

ผลสุกของเสาวรสมีรสเปรี้ยว สามารถใช้เพิ่มรสเปรี้ยวในการปรุงอาหารได้

ผลสุกของเสาวรสสามารถนำไปทำน้ำเสาวรสบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายได้

ผลสุกของเสาวรสสามารถนำไปทำน้ำเสาวรสเกล็ดหิมะได้

ผลสุกของเสาวรสสามารถนำไปทำน้ำเสาวรสปั่นได้

เมล็ดของเสาวรสนำไปทำน้ำมันพืชได้

ยอดของเสาวรสสามามารถใช้ประกอบอาหารได้

ด้วยสรรพคุณและประโยชน์ที่มากมายของเสาวรส เสาวรสจึงเป็นผลไม้ของโปรดประโยชน์เยอะของนักกีฬา นักออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ผู้ที่ต้องการผลไม้ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณชลอความแก่

การปลูกเสาวรสในแต่ละสายพันธุ์นั้น  มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป  ดังนั้นเกษตรกรผู้สนใจปลูกเสาวรส ควรศึกษารายละเอียดเชิงลึกอย่ารอบคอบก่อนตัดสินใจปลูก  เสาวรสเป็นพืชที่มีการลงทุนในการปลูกเจำนวนไม่น้อย  ถึงแม้เสาวรสจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายและดูแลไม่ยุ่งยากจนเกินไป  ตลาดมีความต้องการสูง  ถึงกระนั้นเกษตรกรก็ไม่ควรลงมือปลูกโดยที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลเขิงลึกและการวางแผนการตลาดให้รอบคอบเสียก่อน

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย

kladee.com เรียบเรียง

อินทรียวัตถุ

อินทรีย์วัตถุ001

อินทรียวัตถุคืออะไร สำคัญอย่างไรสำหรับดิน

    “อินทรียวัตถุ”  ถ้าเอ่ยถีงคำนี้ หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็ยังไม่ทราบว่าหมายถึงที่แท้จริงว่าคืออะไรกันแน่ และมีความสำคัญอย่างไรในทางการเกษตร

     อินทรียวัตถุเป็นพื้นฐานสำคัญของการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างดี ปลอดภัย ลดต้นทุนการผลิต ด้วยคุณประโยชน์อันมากมายของอินทรียวัตถุวันนี้เราจะมาทำความรู้จักอินทรียวัตถุกัน

อินทรียวัตถุ หมายถึง ซากพืช ซากสัตว์ทุกชนิดที่กำลังสลายตัว ด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย และส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่จากกระบวนการย่อยสลาย

อินทรียวัตถุในดิน มีความสำคัญต่อการปลูกพืชเนื่องจากเป็นที่สะสมธาตุอาหารพืช และยังทำให้ดินมีการถ่ายเทอากาศ อุ้มน้ำได้ดี ดินที่ผ่านการเพาะปลูกจะทำให้อินทรียวัตถุในดินลดลง จึงมีความจำเป็นต้องเติมอินทรียวัตถุในดินไม่ให้ขาดควรมีปริมาณไม่ต่ำกว่า 5% จากการสำรวจ พบว่า ดินในประเทศไทยมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ ถึงปานกลาง จึงควรเติมอินทรียวัตถุเสมอ เพื่อให้ดินเหมาะแก่การเพาะปลูก

4 วิธีใช้อินทรียวัตถุให้ถูกต้อง

1. การใช้อินทรียวัตถุเป็นวัสดุคลุมดิน ได้แก่ ชิ้นไม้ เปลือกไม้ ขี้เลื่อย โดยใส่ที่ผิวดินในสภาพแห้ง เพื่อให้ถูกจุลินทรีย์ดินย่อยสลายในอัตราตํ่าที่สุด มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผิวหน้าดิน โดยวิธีนี้เราจะไม่มุ่งหวังธาตุอาหารจากอินทรียวัตถุ

2. การใช้อินทรียวัตถุปรับปรุงโครงสร้างดิน ได้แก่ เศษซากพืชหรือพืชสด ซึ่งอินทรียวัตถุนี้จะย่อยสลายเร็วมาก และมีสารอินทรีย์จํานวนมาก และหลากหลาย แต่ต้องเติมบ่อยๆ และอาจทำให้เกิดการขาดไนโตรเจนชั่วคราว จึงต้องแก้ไขด้วยการเติมไนโตรเจนด้วย

3. การใช้อินทรียวัตถุเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน จะ ใช้อินทรียวัตถุที่มีการแปรรูปช้า เป็นแหล่งธาตุไนโตรเจน ซัลเฟต ฟอสฟอรัส และจุลธาตุทุกชนิด

4. การใช้อินทรียวัตถุเพื่อช่วยดูดซับไอออนไว้ในดิน จะใช้อินทรียวัตถุในกลุ่มที่มีการแปรรูปเฉื่อย ผ่านการย่อยสลายมามาก จนมีปริมาณธาตุอาหารพืชเหลือน้อย

การใช้อินทรียวัตถุให้เหมาะสม จึงควรคำนึงถึงเรื่องระยะเวลาเป็นสำคัญ เพราะอินทรียวัตถุเมื่อใส่ลงดิน จะถูกย่อยสลายโดยสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้คาร์บอน ไนโตรเจน  เปลี่ยนแปลงจากระดับสูง และค่อยๆ ลดตํ่าลง  การใช้ประโยชน์จากอินทรียวัตถุจึงควรใช้ให้ถูกประเภทในเวลาที่เหมาะสม จึงจะให้ผลลัพธ์ในการปรับปรุงสภาพดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกได้ดีที่สุด

 

โรงอาหารของพืช หากจะเปรียบดินเสมือนโรงอาหาร คงไม่แปลกถ้าจะเปรียบพืชเป็นเหมือนกับมนุษย์  ดิน และพืชสองสิ่งนี้มีความสัมพันธ์และเอื้อประโยชน์ต่อกันละกัน พืชจะเจริญเติบโตได้ดี ดินก็ต้องมีสารอาหารที่สมบูรณ์ ในทางกลับกันหากดินที่ไม่มีสารอาหาร พืชก็ไม่อาจจะเจริญเติบโตได้ดี

องค์ประกอบของดินตามธรรมชาติมี 4 ส่วน คือ

1. น้ำในดิน ทำหน้าที่ช่วยละลายธาตุอาหารพืชในดินและจำเป็นสำหรับใช้ในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารและสารประกอบต่างๆ ในต้นพืช

2. อากาศในดิน ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่รากพืชและจุลินทรีย์ดินสำหรับใช้ในการหายใจ

3. แร่ธาตุในดิน เป็นส่วนที่ได้จากการผุพังทลายตัวของหินและเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชที่สำคัญที่สุด

4. อินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพัง การสลายตัวของเศษซากพืชและสัตว์ที่ทับถมกันอยู่ในดิน อินทรียวัตถุมีความสำคัญในการทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี ทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน

ตามลําดับขั้นตอนการถูกย่อยสลาย อินทรียวัตถุในดินสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มที่มีการแปรรูปรวดเร็ว อินทรียวัตถุในดินกลุ่มนี้มีสารประกอบที่สิ่งมีชีวิตในดินสามารถนําไปใช้ได้ในปริมาณมาก สิ่งมีชีวิตในดินเกิดกิจกรรมการย่อยสลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และหลังการใส่อินทรียวัตถุในดินลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ต้องเติมใส่อินทรียวัตถุใหม่ๆ ลงดินอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่อง  

2. กลุ่มที่มีการแปรรูปเฉื่อย อินทรียวัตถุในดินในกลุ่มนี้ผ่านการย่อยสลายมามากแล้ว เหลือเฉพาะสารที่มีรูปคงทน คาอยู่ในดินตั้งแต่ 100 -1,000 ปี อนุภาคดินค่อนข้างเหนียวแน่น ดูดซับธาตุอาหารต่างๆ ได้ดี โครงสร้างดินเป็นแบบเม็ดกลมเล็ก ทำให้ชะลอการชะล้างธาตุอาหารโดยน้ำ

3. กลุ่มที่มีการแปรรูปช้า อินทรียวัตถุในดินกลุ่มนี้มีอายุคงทนนานนับสิบปี เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารหลักของพืช ในอัตราคงที่ต่อเนื่องยาวนาน

เพราะดินไม่ใช่เพียงแค่สำหรับให้รากพืชยึดเกาะเท่านั้น แต่ดินเปรียบเสมือนโรงอาหารแหล่งอาหารที่สำคัญของพืช  ถ้าดินขาดธาตุอาหารหรือมีไม่เพียงพอต่อ พืชก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร พืชก็ย่อมสมบูรณ์และให้ผลผลิตที่ดี

     ในความเป็นจริง เกษตรกรรู้จักดินมากน้อยแค่ไหน…? และต้องยอมรับว่าดินใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุด แต่เกษตรกรกลับรู้จักน้อยที่สุด…! การไม่รู้จักสิ่งใกล้ตัวนี่เองทำให้เกษตรกรไม่ประสบความสำเร็จ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้น เพราะหมดไปกับการใส่ปุ๋ยเคมี เพราะคิดว่าคือธาตุอาหารหลักของพืชแต่ยิ่งใส่ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตกลับเท่าเดิม และลดลงเพิ่มทางเดียวคือต้นทุน

 

Call Now Buttonโทรสอบถามตอนนี้