3 Wed , July 2024

มะแขว่น

มะแขว่น 01

มะแขว่น

มะแขว่น ( Zanthoxylum limonella Alston)

วงค์ Rutaceae

มะแขว่น สมุนไพรและเครื่องเทศที่เวลานึกถึงแล้วทำให้เกิดความอยากอาหาร และทำให้เจริญอาหารเป็นยิ่งนัก ผู้คนในภาคเหนือ เวลาได้กลิ่น คั่วมะแขว่นลอยมากับลมถึงแม้จะอยู่ไกลจากการคั่วมะแขว่นก็ตาม ผู้คนมักจะนึกถึงลาบ โดยเฉพาะลาบควาย โดยแท้ที่จริงแล้วการคั่วมะแขว่นนั้นอาจนำไปใส่ ลาบหมู แกงผักกาด ยำไก่ และสารพัดเมนูอาหารเหนือ  เมนูอาหารเหนือเกือบทั้งหมดต้องมีมะแขว่นเป็นส่วนประกอบ มะแขว่นนั้นไม่ได้มีดีแค่กลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวอาหาร แต่มะแขว่นนั้นมากมายด้วยสรรพคุณทางยาบำบัดและฟื้นฟูร่างกายได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะแขว่น

มะแขว่นเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีหนามตามลำต้น  และกิ่งก้าน  ใบมีประมาณ 7 คู่ ใบมีมาลักษณะยาวเรียวปลายใบแหลม   ก้านดอกยาว ดอกออกเป็นช่อในก้านเดียวกันมีหลายช่อ  ดอกสีขาวมีขนาดเล็ก เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่คนละต้น  จะออกดอกประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน ผลมีลักษณะเกลี้ยงกลม  เมือผลแก่จ้ดจะแตกอ้าจนเห็นเมล็ดสีดำกลมด้านใน  ซึ่งผิวของเมล็ดจะเรียบมีสีดำเงา   ผิวของผลมะเขว่นจะมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายๆผักชีแต่หอมกว่ามาก  มีรสเผ็ดเล็กน้อย ทานผลสดดิบๆที่เก็บจากต้นมาใหม่ๆเวลาทานจะชาลินนิดหน่อย จนได้รับฉายาว่าเป็น วาซาบิ เมืองไทย 

มะแขว่น 004

สรรพคุณของมะแขว่น

สรรพคุณทางยา แพทย์แผนโบราณใช้รากและเนื้อไม้มะแขว่นเป็นยาขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการลมขึ้นเบื้องสูง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต เป็นยาขับประจำเดือน แต่ไม่ให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เมล็ดมะแขว่นนำไปสกัดเป้นน้ำมันหอมระเหยได้ ตำรายาแผนโบราณใช้ผลมะแขว่นเป็นส่วนประกอบในยาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้มะแขว่นเป็นส่วนผสมในยาต้มเพื่อแก้โลหิตเป็นพิษและขับระดูพิการ

มีแขว่นในประเทศไทย จะมี 2 สายพันธุ์

1 มะแขว่นสายพันธุ์สีเขียว  2 มะแขว่นสายพันธุ์สีแดง

มะแขว่น และพริกหอมมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่ใช่พืชชนิดเดียวกัน ด้วยกลิ่นที่หอมฉุน และมีรสเผ็ดอ่อนๆ เวลาทานจะรู้สึกชาลิ้นเหมือนกัน พริกหอมใช้ในเครื่องปรุง หม่าล่า อาหารปิ้งย่างสไตล์ยูนนาน พริกหอมในภาษาจีนจะเรียกว่า ซวงเจีย

ยอดอ่อน และผลอ่อนของมะแขว่น นำมาประกอบอาหารได้

ภาคเหนือนิยมนำยอดอ่อนและผลสด นำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ยำ ผลใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นลาบ แกง น้ำพริก อาหารเหนือเกือบทั้งหมดจะขาดเครื่อเทศที่เรียกว่า มะแขว่น ไม่ได้เลย มะแขว่นคือ เอกลักษณ์ของอาหารเหนือ ได้กลิ่นคั่วมะแขว่นลอยตามลมมาก็เกิดอาการท้องร้องอยากทานอาหารขึ้นมาเลยทีเดียว

ภาคใต้นิยมใช้ผสมในเครื่องแกง แช่นแกงเผ็ด แกงคั่วประเภทต่างๆ ช่วยให้แกงมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอมเพิ่มอรรถรสให้กับอาหาร มะแขว่นมีกลิ่นหอมฉุนสามารถกลบกลิ่นคาวของอาหารได้

ด้วยสรรพคุณ และมีกลิ่นหอมฉุนอันเป็นเอกลักษณ์ มะแขว่นเป็นเครื่องเทศอันดับ 1 ของภาคเหนือ และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ในภาคอื่นๆก็นิยมบริโภคเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาควันออก  มะแขว่นจึงเป็นไม้เศรษฐกิจที่น่าปลูกอีกชนิดหนึ่ง มะแขว่นนั้นขี้นชื่อว่าเป็นไม้ปราบเซียนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งการเพาะพันธุ์มะแขว่นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการปลูกมะแขว่นในรูปแบบสวนจึงยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย ผลผลิตมะแขว่นส่วนใหญ่นั้นจะมาจาก ป่ามะแขว่นตามธรรมชาติ มีมากที่สุดที่จังหวัดน่าน และแพร่กระจายพันธุ์ในป่าทั่วไปในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็น เชีงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา 

ฤดูกาลเก็บมะแขว่นจะเริ่มในช่วงต้นพฤศจิกายน ของทุกปีและจะสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวผลมะแขว่นในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี มะแขว่นต้นที่โตเต็มที่อายุ10 ปีเป็นต้นไปจะให้ผลผลิต 30 – 40 กิโลกรัมต่อต้น พ่อค้าแม่ค้าจะมารับซื้อมะแขว่นสดในราคา กิโลกรัมละ 50 บาท มะแขว่นที่ตากแห้งแล้วกฺิโลกรัมละ 150 บาท สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับชาวบ้าน ที่ปีนต้นมะแขว่นเพื่อสรอยผลมะแขว่นขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า นั่นเท่ากับว่าชาวบ้านปีนสรอยผลมะแข่วน 1 ต้นจะมีรายได้ 1500-20000 เลยทีเดียว

การตากมะแขว่น

เมือเก็บผลสดมะแขว่นมาจากต้นแล้วจะต้องรีบนำมาตากแดด โดยตากให้ครบทุกด้านพลิกกลับไปกลับมา เก็บมาแล้วไม่รีบนำมาตากจะทำให้ผลมะแขว่นเน่าเสียหายและขึ้นราได้ การตากมะแขว่นนั้นต้อมัดพวงมะแขว่นให้พอดี ถ้าทำมัดใหญ่เกินไปก็จะทำให้แห้งช้าเพราะการทำมัดใหญ่เกินไปนั้นจะทำให้มีมุมอับที่แสงแดดส่องไม่ถึง

มะแขว่นที่ตากแห้งแล้ว

เมื่อตากมะแขว่นจนแห้งได้ที่แล้วก็นำไปใส่ภาชนะที่ปิดสนิท เช่นนำไปแพคใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันอากาศและความชื้อเข้าไปในผิวมะแขว่นที่ตากแห้ง ถ้าไม่ใม่เก็บไว้อย่างมิดชิดคุณภาพของมะแขว่น ทั้งรสและกลิ่นมะแขว่นจะไม่ดี กลิ่นจะหืนและมีรสเปรี้ยวไม่หอมเวลาที่นำไปประกอบอาหาร

————————————————————-

แหล่งที่มา:การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจำแนกศักยภาพพื้นถิ่นที่ขึ้นของไม้มะแขว่น/ต่อลาภ คำโย และคณะ /มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เรียเรียงโดย:kladee.com