19 Fri , April 2024

อะโซโตแบคเตอร์

เชื้ออะโซโตแบคเตอร์ Azotobacter sp.

เป็นจีนัสของแบคทีเรียที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เป็นแบคทีเรียที่มีผนังหนา รูปร่างไม่เสถียร ย้อมติดสีแกรมลบ และสามารถผลิตเมือกจำนวนมาก ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต (Aerobic Bacteria) อาศัยอยู่อย่างเป็นอิสระในดิน มีหน้าที่สำคัญในการตรึงไนโตรเจน ใช้เป็นส่วนประกอบของปุ๋ยชีวภาพ ในดินจะมีเชื้ออะโซโตแบคเตอร์อยู่หลายชนิดและมีปริมาณขึ้นอยู่กับคุณภาพของดินและสิ่งแวดล้อมในบริเวณ
นั้น ๆ แต่จะพบมากที่สุดในบริเวณรากของพืช โดยทั่วไปแล้วเชื้อแบคทีในกลุ่มอะโซโตแบคเตอร์จะไม่อาศัยอยู่ที่ผิวรากของพืชแต่จะมีมากในเขตรากพืช (rhizosphere) ในพืชบางชนิดรากพืชจะขับสารออกมา (root exudate) ซึ่งมีทั้งกรดอะมิโนน้ำตาล วิตามิน และกรดอินทรีย์รวมทั้งส่วนของรากพืช ที่กำลังสลายตัวอยู่นั้นจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่ทำให้เชื้อดังกล่าวเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างมากมาย
ได้ การเจริญเติบโตและการตรึงไนโตรเจนของเชื้อนอกจากจะใช้สารที่ขับออกมาจากรากพืชแล้ว แบคทีเรียยังต้องการสารอินทรีย์อื่น ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งของพลังงานอีก ดังนั้นการเติม อินทรียวัตถุต่าง ๆ ลงไปในดินก็จะช่วยทำให้มีการตรึงไนโตรเจนสูงขึ้นด้วย โดยปกติการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนได้มากในอุณหภูมิระหว่าง 20 – 45 °C และจำนวนแบคทีเรียจะลดลงถ้าอุณหภูมิมากกว่า 45 °C อุณหภูมิต่ำสุด สำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 14 °C

อุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของเชื้ออะโซโตแบคเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 32 °C เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ทนอุณหภูมิ 50 °C ได้นาน 10 นาที และจะตายลงเมื่ออุณหภูมิสูง 60 °C นาน 10 นาที