18 Thu , April 2024

การเตรียมพื้นที่ปลูกผักหวานป่า

1 ปลูกบนพื้นที่ปลูกที่เป็นพื้นที่โลง

ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นที่โตช้า ไม่โตเร็วเหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น ตัวอย่างเช่น ต้นสัก ต้นมะค่า  ดังนั้นต้นผักหวานป่าตามธรรมชาติ จะอยู่ใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ เป็นแบบนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว  โดยพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น  ในป่าตามธรรมชาติ ต้นผักหวานป่าจะไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ 100 เปอร์เซ็นต์  จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ที่ลอดผ่านใบของต้นไม้ใหญ่ที่สูงกว่า ดังนั้นต้นผักหวานป่าจึงไม่ชอบแดดจัดโดยพันธุกรรม จึงชอบแสงแดดประมาณ 70%  แสงลอดผ่านไปได้ 70% อีก 30% จะถูกพรางแสงเอาไว้ ด้วยใบของต้นไม้ใหญ่ ดังนั้นปริมาณแสงและร่มเงาของต้นไม้ชนิดอื่นที่โตกว่า จึงมีมีอิทธิพลต่อความอยู่รอดของต้นผักหวานป่า เพราะนี่คือธรรมชาติของมัน การปลูกผักหวานป่าให้ประสบความสำเร็จ จึงไม่ใช่การฝืนธรรมชาติ แต่เป็นการเข้าใกล้ธรรมชาติ โดยการเลียนแบบตามธรรมชาติ การสังเกตุและเรียนรู้จากต้นผักหวานป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในป่า นำบทเรียนจากการสั่งเกตุและเรียนรู้มาประยุกต์นำมาปรับใช้กับการปลูกผักหวานป่าในเกษตรแปลงใหญ่ ปลูกเป็นไร่ เป็นสวน ในเวลาต่อมา 

ต้นผักหวานป่าไม่อาจโตได้ในสภาพที่มีแดดจัด 100% ตลอดทั้งวัน ถ้าต้องการให้ต้นผักหวานป่าอยู่รอดจะต้องปรับสภาพแวดดล้อมให้เหมาะสม เพราะพื้นที่โล่งไม่มีต้นไม้ใหญ่คอยให้ร่มเงาพรางแสง ผักหวานป่าก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ สำหรับพื้นที่โล่งแล้วก่อนนำพันธุ์ผักหวานมาปลูกควรมีกการปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงาที่พอดี คนในวงการผักหวานป่า จะเรียกว่า ต้นไม้พี่เลี้ยง  การเลือกต้นไม้พี่เลี้ยงที่เหมาะสมไม่ได้ช่วยให้ผักหวานป่ารอดตายเพียงเท่านั้นแต่ยังข่วยส่งเสริมให้ต้นผักหวานป่าโตเร็วกว่าปกติอีกด้วย 

สรุปแล้วสำหรับพื้นที่โล่งก่อนที่จะนำพันธุ์ผักหวานป่าไปปลูกจำเป็นต้อง ปลูกไม้พี่เลี้ยงรอ และเช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ชนิดอื่น จำเป็นต้อง บำรุ่งดินให้สมบูรณ์ และที่ขาดไม่ได้ก็คือการวางระบบน้ำ ไม่ว่าจะเป็นสปริงเกอร์หรือระบบน้ำหยด 

2 พื้นบนที่ปลูกที่มีต้นไม้ชนิดอื่นขึ้นอยู่แล้ว

เนื่องจากต้นผักหวานป่าต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของตันไม้พี่เลี้ยง และต้นไม้พี่เลี้ยงที่ดีก็ต้องพรางแสงได้ในปริมาณที่เหมาะสม แปลงปลูกของบางท่านนั้นมีต้นไม้ชนิดอื่นอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น สวนลำใย สวนมะม่วง สวนทุเรียน หรือ แม้แต่สวนกล้วย ก็ปลูกผักหวานป่าแซมลงไปได้  แต่การวางแผนการปลูก และการเตรียมการจะแตกต่างจากพื้นที่โล่ง เนื่องจากขนาดใบของต้นไม้แต่ละชนิดที่ยกตัวอย่าง มีใบขนาดใหญ่ จึงทำให้แสงจะลอดผ่านได้ในปริมาณที่น้อยกว่า 70% มีผลทำให้การปลูกผักหวานป่านั้น จะได้ผลดีเฉพาะตำแหน่งระหว่างทรงพุ่มเท่านั้น เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่แสงลอดผ่านได้  ตำแหน่งใต้ทรงพุ่มแสงลอดผ่านได้น้อย ปลูกแล้วไม่ตายก็จริงแต่จะโตช้า บางต้นอายุเกิน 5 ปี แล้วสูงแค่ศอก เก็บยอดไม่ได้ก็ไม่คุ้มค่ากับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย  ต้นผักหวานป่าในป่าเลือกต้นไม้พี่เลี้ยงให้ตัวเองไม่ได้ กว่าจะโตและเก็บยอดได้ก็อาจจะใช้เวลานานเกิน 10 ปี แต่การปลูกในแปลงปลูกของเราเอง ท่านนักปลูกสามารถเลือกความเหมาะสมและสิ่งที่ดีที่สุดให้ต้นผักหวานป่าของท่านได้ โดยการเตรียมพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมและเลือกต้นไม้พี่เลี้ยงที่ดีเกื้อกูลให้โตเร็ว ถ้าปลูกถูกวิธีและดูแลถูกต้อง โดยเฉลี่ยและจะใช้เวลาปลูกเพียง 3 ปีก็จะสามารถให้ยอดเก็บแกง เก็บขายได้ บางแปลงดินอุดมสมบูรณ์มีระบบน้ำที่ดี 2 ปีก็เริ่มให้ยอดแล้ว แปลงปลูกที่เดิมทีเป็นสวนผลไม้มีการวางระบบน้ำอยู่แล้ว ก็เพียงแค่เอาพันธุ์ผักหวานป่าไปลงปลูก ดูแลให้ถูกวิธี ปลูกให้ถูกตำแหน่ง ก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้สวนของตัวเองได้ สวนผลไม้บางปีอากาศไม่ดีไม่ติดดอกออกลูกก็มี ทำให้ในปีนั้นๆขาดรายได้  แต่ถ้ามีต้นผักหวานป่าแซมลงไปด้วย ต้นผักหวานป่าเก็บยอดขาย ไม่ได้เก็บเก็บลูก เก็บผลขาย ไม่มีทางทรยศเจ้านายผู้ให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างแน่นอน 

สำหรับสวนผลไม้ที่มีขนาดใบที่ใหญ่ จะสามารถปลูกผักหวานแซมลงไปได้ ในตำแหน่งระหว่างทรงพุ่มเท่านั้น เพราะจะได้รับปริมาณแสง ในบางช่วงของวัน ตำแหน่งระหว่างทรงพุ่มได้รับแสงแดด 100% ก็จริงแต่ไม่ได้โดนแสงแดดตลอดทั้งวันจึงมีผลทำให้ต้นผักหวานป่ารอดตายและโตเร็วได้เช่นกัน 

เริ่มต้นปลูกด้วยการเตรียมพื้นที่ปลูกที่ดี จะทำให้ดูแลง่าย โตเร็ว ปัญหาตามมาน้อย

ท่านนักปลูกที่มีความสนใจปลูกผักหวานป่าต้องการข้อมูลการปลูกผักหวานป่าเชิงลึก ที่ถูกต้อง ไม่ต้องหลงทางเสียเวลาสามารถติดตามอ่านบทความ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้นะครับ

 

6facebook fanpage https://web.facebook.com/parkwanpa/

https://web.facebook.com/kladeeee/

Line
ID @kladee.com 

https://line.me/R/ti/p/%40kladee.com

โทร 0816558262 

ต้น กล้าดี

“ผมเริ่มทำเกษตรโดยเริ่มจากการปลูกผักหวานป่า เริ่มจากความเชื่อของตัวเอง และความไม่เชื่อของคนอื่น เพียงแค่ความเชื่อ ไม่ได้ช่วยให้สำเร็จอะไรได้เลย หากปราศจากวิธีการที่ถูกต้อง “

การปลูกผักหวานป่า

จุดเริ่มต้นของการปลูกผักหวานป่า

จุดเริ่มต้นของการปลูกผักหวานป่า  ของแต่ละคนนั้น  ไม่เหมือนกัน   Admin เองก็เช่นเดียวกัน  ได้เริ่มปลูกผักหวานป่ามาจากความเชื่อ  ของตัวเอง และความไม่เชื่อของคนอื่น พอจะรู้ดีว่า ความเชื่ออย่างเดียวนั้นไม่พอ ที่จะทำให้การปลูกผักหวานป่านั้นประสบตวามสำเร็จได้ ความรู้และวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น จึงจะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดที่ท่านนักปลูกต้องการได้ 

ทำไมผักหวานป่าจึงเป็นไม้ยอดนิยม  ที่ผู้คนให้ความสนใจปลูก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น ประเทศลาว กระแสของการปลูกผักหวานป่านั้นสูงมาก ปลูกสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง ก็ว่ากันไปตามกรณี แต่ก็ไม่ได้ทำให้กระแสนนั้นลดลงไปได้เลย 

เนื่องจากยอดอ่อน ของผักหวานป่านอกฤดูนั้น ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของผู้บริโภคภายในประเทศ และต่างประเทศ  ไม่นับรวมยอดผักหวานป่าในฤดูกาล ช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี  ช่วงนี้ผลิตมีปริมาณมาก ล้นตลาด เพราะชาวบ้านผู้หาของป่า จะเก็บยอดจากในป่ามาส่งขาย ให้พ่อค้าคนกลาง กระจายส่งยอดอ่อนผักหวานป่า ทั่วประเทศ ทำให้ช่วงนี้ยอดผักหวานราคาถูก แต่สำหรับผักหวานป่านอกฤดูนั้น ราคาสูงลิบลิ่ว “ช่วงนี้บ้านไหนแกงผักหวานป่า ” จะไม่มีการเรียกใครๆให้มาทานข้าวด้วยกันเป็นแน่ เพราะผักหวานป่าอร่อยและราคาแพง แต่ถ้าวันไหนแกงผักกาด ค่อยเรียกเพื่อนบ้านหรือคนอื่น มานั่งล้อมวงกินแกงผักกาดด้วยก็แล้วกัน…

สำหรับการปลูกผักหวานป่า ในเกษตรแปลงใหญ่นั้น ยังไม่มีวิธีการที่แน่นอน ผู้คนส่วนใหญ่ยังหลงทางปลูกในวิธีที่ผิด ไม่มีการวางแผนการปลูกที่ดี ทำให้เสียงบประมาณส่วนเกินโดยไม่จำเป็น และที่สำคัญมากที่สุดคือ  “เสียเวลา”  การวางแผนการปลูกที่ดีนั้นจะทำให้ไม่เสียเวลา และประหยัดงบประมาณอีกด้วย วิธีการที่ถูกต้องนำมาซึ่งการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่อง และผลลิตที่มีคุณภาพ 

การลูกผักหวานป่านับแต่นี้ต่อไป  ไม่ต้องหลงทางเสียเวลาเหมือนการปลูกผักหวานยุคเก่าแล้ว  ปัจจุบันเกษตรกรรุ่นใหม่ได้ปลูกบนพื้นฐานของการทำเกษตร ที่วัดผลได้ มีทฤษฏีรองรับ ไม่ได้ปลูกตามความเชื่อโดยไร้ทฤษฏีทางการเกษตรสนับสนุน ผักหวานป่าก็เหมือนต้นไม้ทั่วไป มีความต้องการพื้นฐานเหมือนต้นไม้ทั้่วๆไป  ต้องการน้ำ อาหาร ปุ๋ย ในระดับที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ดังนั้น เทคนิคการปลูกผักหวานป่า ก็ไม่ใช่เทคนิคที่แปลกพิศดารอะไรเลย เป็นทฤษฏีพื้นฐานทางการเกษตร ที่ทุกคนละเลยไม่ให้ความสนใจตั้งแต่ต้น  กลับไปปลูกตามความเชื่อและวิธีที่ผิดๆ ของคนอื่น ไม่สังเกตุไม่เปลียนแปลงและปรับปรุงวิธีการปลูกของตัวเองให้ดีขึ้นตามเหตุอันควร

สำหรับการปลูกผักหวานป่านั้น ไม่ได้ง่ายเท่ากับการ ปลูกไผ่ แต่ก็ไม่ได้ยากเท่ากับการปลูก ทุเรียน แต่ถ้าปลูกแล้วได้รอดแล้ว สวนผักหวานป่าจะกลายเป็นมรดกตกทอดไปยังลูกหลาน เพราะต้นผักหวานป่าเป็นทั้งผักและเป็นไม้ยืนต้น ที่อายุยืนเป็นร้อยปี ปลูกวันนี้ลูกหลานจะมีมรดกทางอาหารที่ยั่งยืน 

วิธีการปลูกผักหวานป่า

การปลูกผักหวานป่าจะมีวิธีการดังต่อไปนี้ 

1 ปลูกด้วยเมล็ด

2 ปลูกด้วยต้นกล้า

3 ปลูกด้วยกิ่งตอน

ซึ่งการปลูกด้วยเมล็ดจะได้รับความนิยมมากที่สุด ประหยัดงบมากที่สุด และได้ผลดีในระยะยาวมากที่สุด 

สำหรับผู้ที่สนใจปลูกผักหวานป่าที่พึ่งเริ่มปลูกแล้วไม่ประสบความล้มเหลวในปีแรกๆมักจะมีสาเหตุดังต่อไปนี้ 

1พื้นที่ปลูกไม่มีความพร้อม

เนื่องจากผักหวานป่าไม่ชอบแสงแดดที่มีปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องปรับพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับการปลูกผักหวานป่า ในขณะที่ผู้สนใจปลูกเป็นจำนวนมากได้ทำการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ โดยที่ไม่มีการเตรียมความพร้อมในส่วนของพื้นที่ปลูก ส่งผลให้การปลูกผักหวานป่าไม่ประสบผลสำเร็จ 

ดังนั้นควรเตรียมพื้นที่ปลูกผักหวานป่าเอาไว้แต่เนิ่นๆ พอได้รับเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าแล้วก็สามารถนำไปปลูกได้ทันที่ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมพื้นที่ เพราะว่าในขณะที่เตรียมพื้นที่เมล็ดพันธุ์ก็จะมีอัตราการงอกที่ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าจะคายน้ำและทยอยฝ่อตายลงไปเรื่อยๆ ปกติแล้วหลังจากเก็บเมล็ดพันธุ์มาจากต้นแม่พันธุ์ จะต้องเพาะปลูกภายใน 7 วัน หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์การงอกก็จะลดลง 

2ไม่มีความรู้เรื่องผักหวานป่า 

เมื่อไม่มีความรู้เชิงลึกเรื่องผักหวานป่าแล้ว ก็จะส่งผลต่อการวางแผนการปลูกที่ผิดพลาดปัญหาต่างๆก็จะตามมามากมาย การลงทุนปลูกระดับ 1-10 ไร่ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนไม่น้อย ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง รอบคอบ ศึกษาข้อมูลเชิงลึกของผักหวานป่าให้ละเอียดก่อนลงมือปลูก ถ้าไม่มีเวลาก็จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อประสิทธิภาพในการปลูกผักหวานป่า เนื่องจากผักหวานป่า เป็นทั้งผักและไม้ยืนต้นขนาดกลางที่โต้ช้ากว่า ต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่า เช่นต้น สัก ประดู มะค่า ตามธรรมชาติแล้วก็จะอาศัยร่มเงาไม้ใหญ่เหล่านี้โดยปริยาย การที่จะนำต้นผักหวานป่ามาปลูกในรูปแบบ สวน นั้นก็ต้องนำข้อมูลลักษณะทางพันธุกรรม มาเป็นนองค์ประกอบในการวางแผนการปลูกด้วย 

3ไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องการเกษตร 

มีความเข้าใจผิดกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับลักษณะของดินที่ต้นผักหวานป่าชอบ ซึ่งดินที่ผักหวานป่าชอบนั้นเป้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์  ไม่ใช่ดินภูเขา ไม่ใช่ดินปนหิน ตามที่เช้าผิดกันอยู่แต่อย่างได 

 แต่ละวิธีมีขั้นตอนและเทคนิคที่แตกต่างกัน และในแต่ละพื้นที่ปลูกของจังหวัดที่แตกต่างกัน ก็จะมีวิธีการที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกของตัวเอง 

ต้นผักหวานป่านั้นก็ไม่ต่างจากต้นไม้ชนิดอื่นๆโดยทั่วไป ต้องการดินที่มีคุณภาพ มีความโปร่ง ร่วน ซุย มีปริมาณ น้ำและแร่ฐาตุที่เพียงพอ ที่จะส่งผลให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี

ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีคุณภาพที่ดีเหมาะแก่การเจริญเติบโต

ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีคุณภาพที่ดี

 ซึ่งดินที่มีคุณภาพที่ดีนั้นก็จะประกอบไปด้วย 

ของแข็ง 50% ปรกอบด้วย อนินทรีย์วัตถุ 45% อินทรีย์วัตถุ 5% 

และช่องว่าง 50% ประกอบด้วย น้ำ 25% อากาศ 25%

องค์ประกอบของดินที่มีคุณภาพ ได้ถูกค้นพบมาตั้งนานแล้ว และก็ได้ถูกเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ มานมนานแล้ว แล้วแต่ผู้คนกลับไม่ให้ความสนใจเรื่องพื้นฐานใกล้ตัว แต่ไปให้ความสำคัญในเรื่องไกลตัวจนหลงทางเสียเวลา และก็ทำให้การปลูกต้นไม้ชนิดต่างๆล้มเหลว ไม่เว้นแม้แต่ต้นผักหวานป่าก็ตาม 

สรุปแล้วถ้าอยากประสบผลสำเร็จในการปลูกผักหวานป่าควรเริ่มศึกษาทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับ ดิน และ พื้นที่ปลูกก่อน เมื่อเข้าใจถ่องแท้เกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานตรงนี้แล้ว ค่อยไปศึกษาเรื่องอื่นๆเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วิธีการปลูก พันธุ์  การให้ปุ๋ย การดูแล และเรื่องอื่นๆ เพราะถ้าดินคุณภาพไม่ดี ปลูกไปก็โตช้า มีปัญหาตามมามากมาย 

จากประสบการณ์ปลูกผักหวานป่าของ Admin 11  ปีที่ผ่านมา ได้รู้ได้เห็นพัฒนาการของต้นผักหวานป่านับ หมื่นนับแสนต้น ตั้งแต่ต้นแม่พันธุ์ผักหวานป่าแทงช่อดอก จากดอกผักหวานกลายเป็นเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะเป็นต้นกล้า นำต้นกล้าไปปลูกดูแลให้น้ำให้ปุ๋ยกลายเป็นต้นผักหวานป่าที่โตเต็มวัย ให้ยอดได้เก็บแกงเก็บขาย และตอนกิ่งขยายพันธุ์ได้ สามารถสรุปได้ว่า การปลูกผักหวานป่าจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่กระบวนความคิด การวางแผนการปลูกที่เป็นขั้นเป็นตอน วิธีการปลูกนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนมากมายอะไรจนเกินไป ปลูกได้ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ก็สำเร็จตั้งแต่ต้นไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว แต่ถ้าปลูกด้วยวิธีการที่ผิด ยุ่งยากซับซ้อนก็จะล้มเหลวตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายก็ลงเอยด้วยความล้มเหลวอยู่ดี วิธีการที่ถูกต้องก็เปรียบเสมือเข็มทิศนำทางนำไปสู่จุดหมายปลายทางตามที่หวังเอาไว้  

การปลูกผักหวานป่าบนแปลงใหญ่ ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้นจำเป็นต้องเตรียมพื้นที่ให้พร้อม และวางแผนการปลูกให้รัดกุมที่สุด…

ท่านนักปลูกที่มีความสนใจปลูกผักหวานป่า ต้องการข้อมูลการปลูกผักหวานป่าเชิงลึก ที่ถูกต้อง ไม่ต้องหลงทางเสียเวลาสามารถติดตามอ่านบทความ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้นะครับ

facebook fanpage https://web.facebook.com/parkwanpa/

https://web.facebook.com/kladeeee/

Line
ID @kladee.com 

https://line.me/R/ti/p/%40kladee.com

โทร 0816558262 

ผมยินดีถ่ายทอดวิธีการปลูกผักหวานป่า ที่ง่ายที่สุด ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ให้กับท่านนักปลูกที่สนใจที่จะปลูกผักหวานป่า เพื่อเป็นมรดกทางอาหารให้กับคนรุ่นหลังติดต่อได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

นาย กล้าดี

“ผมเริ่มทำเกษตรโดยเริ่มจากการปลูกผักหวานป่า เริ่มจากความเชื่อของตัวเอง และความไม่เชื่อของคนอื่น เพียงแค่ความเชื่อ ไม่ได้ช่วยให้สำเร็จอะไรได้เลย หากปราศจากวิธีการที่ถูกต้อง “

 

ดอกเก็กฮวย

เก็กฮวย001

เก็กฮวย

ภาษาอังกฤษ (Chrysanthemum indicum Linn )

                      วงศ์ (Compositae) 

               ภาษาจีน “菊花”  “จฺหวีฮัว” (júhuā) 

เก็กฮวย ในอดีตนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน ใช้เป็นสมุนไพรบำรุงสุขภาพ  โดยฉพาะการนำเอาดอกแห้งมาต้มเพื่อดื่มน้ำ ใช้เป็นส่วนผสมร่วมกับสูตรยาต้ม ใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในสูตรยาจีน เนื่องจากดอกเก็กฮวยมีกลิ่มหอมลมุน  สามารถปรับกลิ่นของยาต้มให้มีกลิ่มที่น่าดื่มยิ่งขึ้นได้

ในดอกเก็กฮวยนั้นมีสาร ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)

สาร ฟลาโวนอยด์ นั้นสามารถยับยั้งต่อต้านอนุมูลอิสระได้ สาร ซึ่งฟลาโวนอยด์ออกฤทธิ์ยับยังอนุมูลอิสระได้ดีกว่า วิตามินซีหลายเท่าตัว การทานน้ำเก็กฮวยเป็นประจำก็จะทำให้ปริมาณไขมันเลว แอลดีแอล (LDL)  ลดลงได้อีกด้วย ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็น โรคไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เลือดไหลเวียนได้เป็นปกติ ทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

      ในเดือน เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน ของทุกปี เกษตรกรจะเรี่มเตรียมต้นกล้าของดอกเก็กฮวย ด้วยการปลูกต้นแม่พันธุ์เพื่อให้แตกหน่อแล้วนำหน่อไปขยายปลูกลงในแปลงปลูกเป็นลำดับต่อไป การปลูกเก็กฮวยนิยมขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อไปปลูก  

      หลังจากนั้นในเดือน กรกฏาคม  ก็จะเป็นขั้นตอนของการเตรียมแปลงปลูก ในเดือน สิงหาคม ก็จะเริ่มลงมือปลูก หลังจากปลูกไปได้ 20 วันก็จะเรีมตัดแต่งกิ่งจัดทรงพุ่มให้พอดี  เพื่อให้ผลผลิตของดอกเก็กฮวยที่มีคุณภาพ  หลังจากปลูกผ่านไป 90 วัน ต้นเก็กฮวยก็จะเริ่มออกดอกแก่เต็มที่ให้ได้เก็บผลผลิต  ซึ่งระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตดอกเก็กฮวยจะเก็บได้เพียงแค่ 30 วัน จะสิ้นสุดการเก็บผลผลิตในช่วงต้นเดือน ธันวาคม ของทุกปี การปลูกดอกเก็กฮวยจะต้องคำนวณเวลาให้ออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเวลาที่ไม่มีฝนแล้ว ถ้าฝนตกใส่ดอกเก็กฮวยก็จะทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหายได้  

มะแขว่น

มะแขว่น 01

มะแขว่น

มะแขว่น ( Zanthoxylum limonella Alston)

วงค์ Rutaceae

มะแขว่น สมุนไพรและเครื่องเทศที่เวลานึกถึงแล้วทำให้เกิดความอยากอาหาร และทำให้เจริญอาหารเป็นยิ่งนัก ผู้คนในภาคเหนือ เวลาได้กลิ่น คั่วมะแขว่นลอยมากับลมถึงแม้จะอยู่ไกลจากการคั่วมะแขว่นก็ตาม ผู้คนมักจะนึกถึงลาบ โดยเฉพาะลาบควาย โดยแท้ที่จริงแล้วการคั่วมะแขว่นนั้นอาจนำไปใส่ ลาบหมู แกงผักกาด ยำไก่ และสารพัดเมนูอาหารเหนือ  เมนูอาหารเหนือเกือบทั้งหมดต้องมีมะแขว่นเป็นส่วนประกอบ มะแขว่นนั้นไม่ได้มีดีแค่กลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวอาหาร แต่มะแขว่นนั้นมากมายด้วยสรรพคุณทางยาบำบัดและฟื้นฟูร่างกายได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะแขว่น

มะแขว่นเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีหนามตามลำต้น  และกิ่งก้าน  ใบมีประมาณ 7 คู่ ใบมีมาลักษณะยาวเรียวปลายใบแหลม   ก้านดอกยาว ดอกออกเป็นช่อในก้านเดียวกันมีหลายช่อ  ดอกสีขาวมีขนาดเล็ก เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่คนละต้น  จะออกดอกประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน ผลมีลักษณะเกลี้ยงกลม  เมือผลแก่จ้ดจะแตกอ้าจนเห็นเมล็ดสีดำกลมด้านใน  ซึ่งผิวของเมล็ดจะเรียบมีสีดำเงา   ผิวของผลมะเขว่นจะมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายๆผักชีแต่หอมกว่ามาก  มีรสเผ็ดเล็กน้อย ทานผลสดดิบๆที่เก็บจากต้นมาใหม่ๆเวลาทานจะชาลินนิดหน่อย จนได้รับฉายาว่าเป็น วาซาบิ เมืองไทย 

มะแขว่น 004

สรรพคุณของมะแขว่น

สรรพคุณทางยา แพทย์แผนโบราณใช้รากและเนื้อไม้มะแขว่นเป็นยาขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการลมขึ้นเบื้องสูง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต เป็นยาขับประจำเดือน แต่ไม่ให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เมล็ดมะแขว่นนำไปสกัดเป้นน้ำมันหอมระเหยได้ ตำรายาแผนโบราณใช้ผลมะแขว่นเป็นส่วนประกอบในยาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้มะแขว่นเป็นส่วนผสมในยาต้มเพื่อแก้โลหิตเป็นพิษและขับระดูพิการ

มีแขว่นในประเทศไทย จะมี 2 สายพันธุ์

1 มะแขว่นสายพันธุ์สีเขียว  2 มะแขว่นสายพันธุ์สีแดง

มะแขว่น และพริกหอมมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่ใช่พืชชนิดเดียวกัน ด้วยกลิ่นที่หอมฉุน และมีรสเผ็ดอ่อนๆ เวลาทานจะรู้สึกชาลิ้นเหมือนกัน พริกหอมใช้ในเครื่องปรุง หม่าล่า อาหารปิ้งย่างสไตล์ยูนนาน พริกหอมในภาษาจีนจะเรียกว่า ซวงเจีย

ยอดอ่อน และผลอ่อนของมะแขว่น นำมาประกอบอาหารได้

ภาคเหนือนิยมนำยอดอ่อนและผลสด นำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ยำ ผลใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นลาบ แกง น้ำพริก อาหารเหนือเกือบทั้งหมดจะขาดเครื่อเทศที่เรียกว่า มะแขว่น ไม่ได้เลย มะแขว่นคือ เอกลักษณ์ของอาหารเหนือ ได้กลิ่นคั่วมะแขว่นลอยตามลมมาก็เกิดอาการท้องร้องอยากทานอาหารขึ้นมาเลยทีเดียว

ภาคใต้นิยมใช้ผสมในเครื่องแกง แช่นแกงเผ็ด แกงคั่วประเภทต่างๆ ช่วยให้แกงมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอมเพิ่มอรรถรสให้กับอาหาร มะแขว่นมีกลิ่นหอมฉุนสามารถกลบกลิ่นคาวของอาหารได้

ด้วยสรรพคุณ และมีกลิ่นหอมฉุนอันเป็นเอกลักษณ์ มะแขว่นเป็นเครื่องเทศอันดับ 1 ของภาคเหนือ และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ในภาคอื่นๆก็นิยมบริโภคเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาควันออก  มะแขว่นจึงเป็นไม้เศรษฐกิจที่น่าปลูกอีกชนิดหนึ่ง มะแขว่นนั้นขี้นชื่อว่าเป็นไม้ปราบเซียนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งการเพาะพันธุ์มะแขว่นนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการปลูกมะแขว่นในรูปแบบสวนจึงยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย ผลผลิตมะแขว่นส่วนใหญ่นั้นจะมาจาก ป่ามะแขว่นตามธรรมชาติ มีมากที่สุดที่จังหวัดน่าน และแพร่กระจายพันธุ์ในป่าทั่วไปในภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็น เชีงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา 

ฤดูกาลเก็บมะแขว่นจะเริ่มในช่วงต้นพฤศจิกายน ของทุกปีและจะสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวผลมะแขว่นในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี มะแขว่นต้นที่โตเต็มที่อายุ10 ปีเป็นต้นไปจะให้ผลผลิต 30 – 40 กิโลกรัมต่อต้น พ่อค้าแม่ค้าจะมารับซื้อมะแขว่นสดในราคา กิโลกรัมละ 50 บาท มะแขว่นที่ตากแห้งแล้วกฺิโลกรัมละ 150 บาท สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับชาวบ้าน ที่ปีนต้นมะแขว่นเพื่อสรอยผลมะแขว่นขายให้กับพ่อค้าแม่ค้า นั่นเท่ากับว่าชาวบ้านปีนสรอยผลมะแข่วน 1 ต้นจะมีรายได้ 1500-20000 เลยทีเดียว

การตากมะแขว่น

เมือเก็บผลสดมะแขว่นมาจากต้นแล้วจะต้องรีบนำมาตากแดด โดยตากให้ครบทุกด้านพลิกกลับไปกลับมา เก็บมาแล้วไม่รีบนำมาตากจะทำให้ผลมะแขว่นเน่าเสียหายและขึ้นราได้ การตากมะแขว่นนั้นต้อมัดพวงมะแขว่นให้พอดี ถ้าทำมัดใหญ่เกินไปก็จะทำให้แห้งช้าเพราะการทำมัดใหญ่เกินไปนั้นจะทำให้มีมุมอับที่แสงแดดส่องไม่ถึง

มะแขว่นที่ตากแห้งแล้ว

เมื่อตากมะแขว่นจนแห้งได้ที่แล้วก็นำไปใส่ภาชนะที่ปิดสนิท เช่นนำไปแพคใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันอากาศและความชื้อเข้าไปในผิวมะแขว่นที่ตากแห้ง ถ้าไม่ใม่เก็บไว้อย่างมิดชิดคุณภาพของมะแขว่น ทั้งรสและกลิ่นมะแขว่นจะไม่ดี กลิ่นจะหืนและมีรสเปรี้ยวไม่หอมเวลาที่นำไปประกอบอาหาร

————————————————————-

แหล่งที่มา:การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจำแนกศักยภาพพื้นถิ่นที่ขึ้นของไม้มะแขว่น/ต่อลาภ คำโย และคณะ /มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เรียเรียงโดย:kladee.com

เสาวรส

เสาวรสผลไม้ประโยชน์เยอะ ปลูกไม่ยาก เป็นที่ต้องการของตลาด

เสาวรส ภาษาอังกฤษ  – passion fruit / Yellow granadilla

                                   / Jamaica honey-suckle

เสาวรส ภาษาพื้นบ้านกะทกรก

 

ในประเทศไทยมีการปลูกเสาวรสอย่างแพร่หลายมานานแล้ว เดิมทีจะปลูกเฉพาะเสาวรสพันธุ์สีเหลืองหรือที่เรียกว่าพันธุ์พื้นเมือง

พันธุ์เสาวรสที่ปลูกในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้

1 เสาวรสพันธุ์สีเหลือง  มีเปลือกสีเหลือง  และเนื้อข้างในจะมีเหลืองด้วยเช่นเดียวกัน

2 เสาวรสพันธุ์สีเม่วง  เปลือกมีสีม่วงเนื้อในจะมีสีเหลือง  หลังจากที่มีการนำพันธุ์เสาวรสสีม่วงเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประทศไทย   เสาวรสพันธุ์สีเหลืองจึงถูกเรียกว่าพันธุ์พื้นเมืองในเวลาต่อมา

3 เสาวรสพันธุ์ผสม  เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์สีเหลืองและสีม่วง  เปลือกจะมีสีม่วงอมแดงและเนื้อในจะมีสีเหลืองเช่นเดียวกัน

 

ผลของเสาวรสสุกมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายดังต่อไปนี้

สารเบต้าแครโรทีน ในเสาวรสมีสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ  ชลอการแก่ก่อนวัยอันควร  ทำให้เซลล์เสื่อมช้าลง  และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ดีขึ้นอีกด้วย

ใยอาหารปริมาณสูงในเสาวรส  มีสรรพคุณช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมันจากอาหาร  ที่ทานลงไปได้ช้าลง ร่างกายดูดซึมไขมันไม่ทันก็ถูกขับออกมาจากร่างกาย. โดยอุจาระ ช่วยลดความเสียงของโรคความดันโลหิตสูง. และบรรเทาอาการของโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย   เพราะใยอาหารนั้นช่วยลดไขมันอันตราย   คอเลสเตอรอล  และไตรกรีเซอไรด์ ได้นั้นเอง

สารโพแทสเซียมในเสาวรส. มีสรรพคุณช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้ปกติ   ปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย  ปรับสมดุลการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

วิตามินซีในเสาวรสมีสรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ  ช่วยลดความเสียงของโรคต่างๆ  ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ   ลดความเสื่อมของกระจกตา  ที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น ควันไฟ แสงแดด  ช่วยเพิมภูมิต้านทานโรคหวัด  ช่วยทำให้บาทแผลแห้งเร็วขึ้น

สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจ  เมื่อได้ทานน้ำเสาวรสสดๆเป็นประจำ โดยที่ไม่ได้ผ่านการปรุงรส จะมีผลทำให้อาการดีขึ้นตามลำดับ เป็นผลมาจากสารอาหารต่างที่มีอยู่ในผลเสาวสสุกช่วยฟื้นฟูปรับสมดุลร่างกายทำให้ร่างกายฟื้นตัวมีสุขภาพที่ดีขึ้น

การใช้ประโยชน์ของเสาวรส

ผลสุกของเสาวรสใช้แต่งหน้าขนมต่างๆได้อาทิเช่นใช้แต่งหน้าเค้ก

ผลสุกของเสาวรสนำไปทำไอศครีมได้

ผลสุกของเสาวรสนำไปหมักไวน์ได้

ผลสุกของเสาวรสนำไปทำซอสผลไม้ได้

ผลสุกของเสาวรสนำไปทำแยมได้

ผลสุกของเสาวรสมีรสเปรี้ยว สามารถใช้เพิ่มรสเปรี้ยวในการปรุงอาหารได้

ผลสุกของเสาวรสสามารถนำไปทำน้ำเสาวรสบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายได้

ผลสุกของเสาวรสสามารถนำไปทำน้ำเสาวรสเกล็ดหิมะได้

ผลสุกของเสาวรสสามารถนำไปทำน้ำเสาวรสปั่นได้

เมล็ดของเสาวรสนำไปทำน้ำมันพืชได้

ยอดของเสาวรสสามามารถใช้ประกอบอาหารได้

ด้วยสรรพคุณและประโยชน์ที่มากมายของเสาวรส เสาวรสจึงเป็นผลไม้ของโปรดประโยชน์เยอะของนักกีฬา นักออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกาย ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ผู้ที่ต้องการผลไม้ที่ช่วยบำรุงผิวพรรณชลอความแก่

การปลูกเสาวรสในแต่ละสายพันธุ์นั้น  มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป  ดังนั้นเกษตรกรผู้สนใจปลูกเสาวรส ควรศึกษารายละเอียดเชิงลึกอย่ารอบคอบก่อนตัดสินใจปลูก  เสาวรสเป็นพืชที่มีการลงทุนในการปลูกเจำนวนไม่น้อย  ถึงแม้เสาวรสจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายและดูแลไม่ยุ่งยากจนเกินไป  ตลาดมีความต้องการสูง  ถึงกระนั้นเกษตรกรก็ไม่ควรลงมือปลูกโดยที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลเขิงลึกและการวางแผนการตลาดให้รอบคอบเสียก่อน

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย

kladee.com เรียบเรียง

ผักหวานป่า การแพร่กระจายพันธุ์

     ผักหวานป่าถูกขนานนามว่าเป็นราชาแห่งผักพื้นบ้าน  ทรงคุณค่าทั้งรสชาติและคุณสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ผักหวานป่าแพร่และขยายพันธุ์ในป่าเขตร้อนทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซียและพม่าสำหรับผักหวานป่าในประเทศไทยนั้น การแพร่พันธุ์ของผักหวานป่า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด พื้นที่ของดงผักหวานป่าขนาดใหญ่ที่สุดจะอยู่ในเขตป่าภาคเหนือ จะเชื่อมต่อกันผ่านแนวสันเขาที่ทอดยาวในเขตป่าภาคเหนือเกือบทุกจังหวัด

เมล็ดผักหวานป่า0002

เมล็ดสุกของต้นผักหวานป่า

     เริ่มจากดงผักหวานป่าบนยอดดอยของจังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมกับดงผักหวานป่าของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก เชื่อมไปยังดงผักหวานป่าของจังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง จากนั้นก็เชื่อมไปยังดงผักหวานป่าของจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอุตรดิตถ์ผ่านไปยังจังหวัดน่านและจังวัดพะเยา ต้นผักหวานป่าในจังหวัดแพร่และเชียงรายมีประปรายไม่ได้มีจำนวนมากเหมือนจังหวัดอื่นๆตามที่กล่าวมาข้างต้น

        

แหล่งเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าอันดับรองลงมาคือ

ภาคกลาง  สระบุรี กาญจนบุรี

ภาคอีสาน นครราชสีมา นครพนม อุดรธานี สกลนคร

 ภาคใต้ กระบี่ สุราษฎร์ธานี 

ในอดีตการแพร่กระจายพันธุ์ผักหวานป่าอาศัยสัตว์พาหนะในการช่วยแพร่กระจายพันธุ์เพียงเท่านั้นแต่ในปัจจุบันมนุษย์สามารถขยายพันธุ์ผักหวานป่าในการนำมาปลูกในบ้านและในสวนได้แล้วและมีวิวัฒนาการและทักษะในการเพาะปลูกที่ดีขึ้นเรื่อยๆสำหรับการเพาะปลูกขยายพันธุ์ผักหวานป่าในแต่ละปี

การขยายพันธุ์ผักหวานป่ามีดังต่อไปนี้

1การปลูกด้วยเมล็ด

2การปลูกด้วยต้นกล้า

3การปลูกด้วยกิ่งตอน

4การขยายพันธุ์โดยการชำราก(ชำไหล)

       การปลูกผักหวานป่าในปัจจุบันไม่ได้ยากเหมือนดังเดิมอีกต่อไปแล้วในอดีตมีการทดลองปลูกด้วยวิธีการต่างๆมากมายส่วนใหญ่จะล้มเหลวตายเป็นส่วนมากแต่ในปัจจุบัน วิวัฒทนาการในการปลูกผักหวานป่านั้นก้าวหน้ามากแล้วจึงทำให้การปลูกผักหวานป่าไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป   

      จากประสบการณ์ภาคสนามของผู้เขียนนานนับสิบปี ในภารกิจตามหาแหล่งเมล็ดพันธุ์ของผักหวานป่าในภาคเหนือ ถึงขั้นรถเสียนอนต้องนอนค้างในป่าก็เคยมีมาแล้ว  จึงมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับแหล่งเมล็ดพันธุ์ของผักหวานป่าในภาคเหนือเป็นอย่างดี การขยายพันธุ์ของต้นผักหวานป่าในป่านั้นจะอาศัยสัตว์พาหนะกินเมล็ดผักหวานป่าเป็นอาหาร ผ่านระบบย่อยอาหาร ​ กระเพาะ ลำไส้ เมื่อสัตว์เหล่านี้ถ่ายมูลที่มีเมล็ดผักหวานป่าปนอยู่เมื่อถ่ายออกมาแล้วก็จะทำให้เกิดการขยายพันธุ์ผักหวานป่า โดยสัตว์พาหนะผู้ช่วยเหล่านี้เช่น ลิง กวาง เนื้อทราย อีเห็น เนื่องจากเมล็ดผักหวานป่ามีความกว้างประมาณ 0.5  นิ้ว ยาวประมาณ 1 นิ้ว  สัตว์และนกขนาดเล็กไม่สามารถกลืนเมล็ดลงท้องได้จึงไม่สามารถเป็นสัตว์พาหนะในการขยายพันธุ์ของต้นผักหวานป่าได้ (ลิง กวาง เนื้อทรายในป่าภาคเหนือปัจจุบันสาบสูญหรือไม่ก็ใกล้สาบสูญแล้วเนื่องจากถูกนนุษย์ล่าไปเป็นอาหาร) ปัจจุบัน อีเห็นจะเป็นสัตว์พาหนะหลักๆที่แพร่ขยายพันธุ์ผักหวานป่า พรานป่าถ้าเจอกองมูลของอีเห็นที่กินเมล็ดผักหวานป่า ก็จะถือว่าโชคดีเพราะไม่ต้องแกะและร่อนเปลือเมล็ดผักหวานด้วยตัวเอง

     ปัจจุบันนั้นมีผู้สนใจปลูกผักหวานป่าเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นไม้ยืนต้นที่ทนต่อโรคพืชโรคเแมลง ปลูกครั้งเดียวเก็บขายได้ตลอดชีวิตเนื่องจากผักหวานป่าเป็นไม้ป่าที่อายุยืนนับร้อยปี ประกอบกับรสชาติที่อร่อยและสรรพคุณที่มากมาย การที่ถูกขนานนามว่าเป็นราชาแห่งผักพื้นบ้านทั้งปวงจึงเป็นฉายาที่สมเหตุสมผลไม่เกินจริง มีการขยายพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกทางภาคอีสาน ผู้คนให้ความนิยมบริโภคแต่ผลลิตของยอดผักหวานป่า ไม่พอต่อความต้องการโดยเฉพาะผักหวานป่านอกฤดูกาล ซึ่งมีราคาแพงมากแพงกว่าผักทั่วๆไปหลายเท่าตัว

สตรอเบอรี่ พระราชทาน80

สตรอเบอรี่ราชินี ของผลไม้ทั้งปวง

จุดกำเหนิดของการปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ 2477 โดยชาวอังกฤษเป็นผู้นำพันธุ์สตรอเบอรี่เข้ามาปลูกและแพร่ขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาถูกเรียกว่าพันธุ์พันธุ์สตรอเบอรี่นี้ว่า พันธุ์พื้นเมือง เนื่องจากมีผลขนาดเล็ก ผลผลิตน้อยไม่ดกและรสชาติไม่ดี และต่อมาเมื่อมีการนำพันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์ใหม่เข้ามาปลูกโดยมูลนิธิโครงการหลวง  ซึ่งให้ผลผลิตที่ดีกว่าจึงเรียกพันธุ์ที่ชาวอังกฤษนำเข้ามาครั้งแรกว่า สตรอเบอรี่พันธุ์พื้นเมือง

 

ในปี พ.ศ 2512 มูลนิธิโครงการหลวงได้ก่อนตั้งขึ้น เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ของการปลูกฝิ่นในที่ราบสูงของภาคเหนือ ในปี พ.ศ  2517 สตรอเบอรี่เป็นไม้เมืองหนาวชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาปลูกและพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้ปลูกในพื้นที่ราบสูงของภาคเหนือได้ เนื่องจากมีอากาศที่หนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว เหมาะแก่การปลูกไม้เมืองหนาว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นส่งผลให้มีพืชผักผลไม้มืองหนาวมากมายในปัจจุบัน เพราะถ้าหากไม่นำพันธุ์พืชผักผลไม้เมืองหนาวมาส่งเสริมให้ชาวเขาปลูก ก็ยากที่จะโน้มน้าวให้เลิกปลูกฝื่นได้  

ใน 2535 สตรอเบอรี่เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภายในประเทศ ผู้บริโภคภายในประเทศรู้จักและนิยมการทานสตรอเบอรี่มากขึ้นและประกอบกับตลาดภายนอกประเทศก็ให้ความนิยมสตรอเบอรี่สูงขึ้นเช่นกัน

เกษตรกรให้ความสนใจในการปลูกสตรอเบอรี่แพร่หลายมากขึ้นจากแรกเริ่มเดิมทีนิยมปลูกสรอเบอรี่เฉพาะบนพื้นที่ภูเขาสูงในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ แต่ได้มีการเริ่มปลูกสตรอเบอรี่ในบริเวณพื้นราบในจังหวัด เชียงใหม่ อำเภอสะเมิง อำเภอแม่ริม อำเภอจอมทอง และอำเภอฝาง 

ถึงแม้ผลผลิตสตรอเบอรี่จะไม่ดกและขนาดของผลสตรอเบอรี่จะไม่เท่ากับพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่บนภูเขา แต่ก็สามารถจำหน่ายได้ราคาต่อกิโลกรัมที่แพงกว่า เนื่องจากสตรอเบอรี่ตั้งแต่เริ่มปลูกช่วงแรกจนถึงปัจจุบันนี้ ผลผลิตของสตรอเบอรี่ไม่เคยเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ

ในจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ตามสอง ข้างทางก่อนที่จะเข้าตัวอำเภอแม่ส่ายจังหวัดเชียงราย สองข้างทางจะเต็มไปด้วยร้านขายผลสตรอเบอรี่สดสีแดงๆเต็มสองข้างทาง ในอำเภอใกล้เคียงอำเภอแม่ส่ายเช่นแม่จัน เชียงแสน มีการปลูกสรอเบอรี่ประปรายแต่ไม่มากเมือเทียบกำอำเภอแม่ส่าย

ในปัจจุบันสตรอเบอรี่ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ได้ปลูกเฉพาะในเขตภาคเหนือเท่านั้น ในภาคอีสาน และ ภาคตะวันตก และในภาคกลางบางจังหวัดที่มีเขตรอยต่อใกล้กับภาคเหนือก็นิยมปลูกสตรอเบอรี่กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน

ถึงแม้ผลผลิตจะไม่ดกและขนาดของผลสตรอเบอรี่จะไม่ใหญ่เท่ากับพื้นที่บนภูเขาก็ตาม แต่ก็สามารถจำหน่ายได้ในราคาต่อกิโลกรัมที่แพงกว่า เนื่องจากสตรอเบอรี่ตั้งแต่เริ่มปลูกช่วงแรกๆจนถึงปัจจุบันนี้ ผลิตของสตรอเบอรี่ไม่เคยเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ

สตรอเบอรี่สายพันธุ์ต่างๆที่โครงการหลวงนำเข้ามาและพัฒนาสายพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตกรปลูก

พันธุ์พระราชทาน 13 หรือพันธุ์เคมบริดจ์เฟเวอริส ,  พันธุ์พระราชทาน 16 หรือพันธุ์ไทโอก้า , พันธุ์พระราชทาน 20 หรือพันธุ์สีคะโวยะ , พันธุ์พระราชทาน 50 หรือพันธุ์บี 5 ,  พันธุ์พระราชทาน 70 หรือพันธุ์โตโยนากะ ,  พันธุ์พระราชทาน 72 หรือพันธุ์โทชิโอโทม , พันธุ์ 329 , พันธุ์พระราชทาน 80 ,  พันธุ์พระราชทาน 88

พันธุ์พระราชทาน 80 คือพันธุ์ที่เกษตกรปลูกมากที่สุดในตอนนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้เกษตกรนิยมปลูกพันธุ์ 329 ควบคู่กันกับพันธุ์ พระราชทาน 80 เนื่องจากผิวจะหนากว่าทนกว่าการขนส่งทางไกลได้ดีกว่าพันธุ์พระราชทาน 80 แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เกษตกรลดการปลูกพันธุ์ 329 เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดเรื้อรัง

พันธุ์พระราชทาน 88 คือพันธุ์ที่โครงการหลวงพัฒนาล่าลุดเพื่อให้เกษตรกรปลูกแก้ไขปัญหาสายพันธุ์ก่อนหน้านี้เช่นพันธุ์ 80 ที่มีรสชาติอร่อยแต่ผิวบางไม่ทนต่อการขนส่งทางไกลได้ แต่เกษตรกรยังไม่นิยมปลูกเพราะยังไม่มีทักษะในการดูแลสตรอเบอรี่สายพันธุ์ใหม่เนื่องจากการปลูกสตรอเบอรี่จะมีงบลงทุนต่อไร่ค่อนข้างสูง การที่จะปลูกสตรอเบอรี่สายพันธุ์ใหม่ๆที่ไม่เคยปลูกมาก่อนในจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยง ดังนั้นเกษรตกรจะทดลองปลูกพันธุ์ใหม่จากน้อยไปหามาก เมื่อได้ผลดีอัตราผลผลิตต่อไร่สูงเป็นที่น่าพอใจ และตลาดต้องการก็จึงค่อยๆเพิ่มจำนวนการปลูกพื้นที่ปลูกตามที่ตลาดต้องการ

การจัดการและการเตรียมดินก่อนปลูกสตรอเบอรี่

     เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ แล้วพบว่าปกติการปลูกสตรอเบอรี่เป็นการลงทุนที่ใช้ระยะเวลาสั้นโดยใช้เวลาเพียงหนึ่งปีหรือน้อยกว่า ตั้งแต่ต้นมีการตั้งตัวจนกระทั่งเก็บเกี่ยวในปีถัดไปด้วยเหตุผลนี้จึงสามารถกำหนดร่วมกับการปลูกพืชหมุนเวียนอื่น ๆ ได้และมีความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ความจำเป็นและความต้องการธาตุอาหาร เพื่อทำให้ผลผลิตสูงขึ้นอยู่กับการจัดการสภาพดินให้ดีที่สุด 3 ประการคือ โครงสร้างของดินที่ดี ความชื้นในดินที่เพียงพอ และธาตุอาหารที่เพียงพอสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เงื่อนไขของสภาพดินเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันมาก และส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณของอินทรีย์วัตถุหรือฮิวมัสในดิน ปริมาณของอินทรียวัตถุในดินที่มีมากมีผลทำให้โครงสร้างดินดี เพื่อการดูดซับความชื้น และในระหว่างเกิดกระบวนการเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืช ดินที่ขาดอินทรีวัตถุควรมีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชสดเพิ่มเติม ก่อนมีการปลูกสตรอเบอรี่

ดินที่มีความร่วนซุยถือว่ามีโครงสร้างดิน ซึ่งทำให้เกิดสภาพที่เป็นประโยชน์ เช่น กิจกรรมของเชื้อแบคทีเรียและสารเคมีในดิน ช่วยเหลือการดูดซับน้ำในดิน ตลอดจนระบบรากมีการเจริญและพัฒนาได้ดี ระบบรากที่ขยายได้มากขึ้นนี้จะทำให้ต้นสตรอเบอรี่ได้รับความชื้นและปริมาณอาหารที่มากขึ้นตามไปด้วยปริมาณของความชื้นที่มากพอเหมาะเป็นสิ่งจำเป็นตลอดช่วงของการปลูกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างช่วงของ การเก็บเกี่ยวหลักจากการย้ายต้นไหลสตรอเบอรี่ลงปลูกแปลงแล้วจำเป็นต้องมีการรดน้ำตลอดช่วงสองสามสัปดาห์แรก เพื่อให้ต้นตั้งตัวและเกิดระบบรากใหม่เร็วขึ้น ต่อจากนั้นอาจพิจารณาให้น้ำประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์โดยขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดินในพื้นที่ปลูกและปริมาณฝนที่ตก

การปลูกพืชหมุนเวียน

( rotation )


      ในบางพื้นที่อาจมีการปลูกสตรอเบอรี่ในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องกันมานานหลาย ๆ ปี การปฏิบัติเช่นนี้ไม่เป็นการดี ถึงแม้พื้นที่เหล่านั้นจะถูกยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตสตรอเบอรี่ก็ตาม ควรต้องมีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยรักษาอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชแมลง และโรคต่าง ๆ ผลดีของการปลูกพืชหมุนเวียนขึ้นกับการปรับตัวและการได้รับประโยชน์จากพืชที่ใช้ปลูก
โดยทั่วไปควรปลูกพืชเหล่านั้นให้นานเท่ากับระยะเวลาที่ปลูกสตรอเบอรี่ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งหรือสองปีก็ได้ ถ้าหากเป็นพืชที่มีเมล็ดหลังจากช่วงของการเก็บเกี่ยว ควรไถพรวนและทิ้งไว้เป็นเวลานานพอสมควรก่อนที่จะทำการปลูกสตรอเบอรี่ใหม่ พืชคลุมดินหรือพืชอื่นที่มีประโยชน์ เช่น พวกถั่วต่าง ๆ อาจไถกลบในลักษณะของปุ๋ยพืชสด พวกพืชเหล่านี้ไม่ได้ไปเพิ่มอินทรีย์วัตถุทั้งหมดในดิน แต่จะไปเพิ่มปริมาณการย่อยสลายของอินทรียวัตถุให้เร็วขึ้น ซึ่งมีความสำคัญและนับว่าเป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วมีความสามารถเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในดินและยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยไนโตรเจนอีกด้วย ปัจจุบันต่างประเทศ เช่น แคนาดาได้มีการใช้ปุ๋ยพืชสดพวกถั่วเหลืองก่อนการปลูกสตรอเบอรี่และพบว่าสามารถลดปัญหาโรครากเน่าได้อย่างมาก

 

ปุ๋ยคอก

( Farm manures )

   ปุ๋ยคอก จัดได้ว่าเป็นปุ๋ยทั่วไปที่ดีที่สุดสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ซึ่งมีจำนวนของอินทรีย์วัตถุมากมายในอันที่จะทำให้ดินมีโครงสร้างที่ดีขึ้นและสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้การใส่ปุ๋ยคอกควรใส่ในขณะที่เตรียมดินก่อนการปลูกสตรอเบอรี่และต้องมีการไถพรวนเพื่อกำจัดต้นวัชพืชเล็ก ๆ ที่งอกขึ้นมา ( ซึ่งอาจเป็นเมล็ดที่ติดมาจากปุ๋ยคอกก็ได้ )

นอกจากนี้ยังต้องมีการเก็บชิ้นส่วนของวัชพืชทิ้งให้มากที่สุดในขณะที่ทำการไถพรวนด้วยสำหรับพื้นที่ที่เป็นดินทรายจัดอาจต้องใช้ปุ๋ยคอกในอัตรา 12 ตันต่อไร่ แต่สภาพพื้นที่โดยทั่วไปควรใช้ในอัตรา2-4 ตันต่อไร่ก็เพียงพอแล้ว

การตอบสนองต่อปุ๋ย

( Response to fertilizers )

    จากผลงานทดลองและสังเกตต่าง ๆทำให้ชี้ได้ว่าการตอบสนองของสตรอเบอรี่ต่อการให้ปุ๋ยมีการผันแปรอย่างมากมาย ถ้าหากเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุมากการให้ปุ๋ยอาจไม่จำเป็นเท่าใดนักแม้ว่าสตรอเบอรี่จะมีความต้องการธาตุอาหารต่าง ๆ มากมายสำหรับการเจริญเติบโตตามปกติและการให้ผลผลิต แต่จำนวนธาตุอาหารเหล่านี้ถูกใช้ในปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณที่มีอยู่ในดินที่อุดมสมบูรณ์ โดยทั่วไปมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากว่าธาตุอาหารอื่น ๆ ในดิน ที่ใช้ปลูกสตรอเบอรี่ หากขาดธาตุไนโตรเจนจะทำให้ต้นสตรอเบอรี่เจริญเติบโตช้า ใบเล็ก และมีสีเขียวจาง ถ้าขาดมากขึ้นจะทำให้ใบกลายเป็นสีแดงเข้มได้ อย่างไรก็ดีระบบรากที่โดนทำลาย ความแห้งแล้งและใบที่มีสีแดง เนื่องจากโรคต่าง ๆ สาเหตุเหล่านี้อาจเกิดการสับสนกับการขาดธาตุอาหารได้จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ถูกต้องเพื่อหาทางแก้ไขอย่างรวดเร็ว ขณะที่หากพืชมีการเจริญเติบโตอย่าแข็งแรงและมีสีใบเขียวเข้มตามปกติก็อาจไม่ต้องมีการใส่ธาตุอาหารเพิ่มเติมเกินความจำเป็น

เวลาของการให้ปุ๋ย

( Time of application )

    สตรอเบอรี่สามารถตอบสนองต่อปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใส่ในปริมาณที่เหมาะสมและมีการไถพรวนดินปลูกให้ลึก ปุ๋ยคอกอาจสร้างปัญหาเรื่องเมล็ดวัชพืชที่ติดมาและงอกหลังใส่ลงไปในแปลงปลูก จึงควรใส่ก่อนปลูกสตรอเบอรี่ประมาณ 4-6 เดือนและกำจัดวัชพืชให้หมด
สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้นควรใส่ก่อนปลูกหลาย ๆ วัน ในสภาพแปลงปลูกทั่ว ๆ ไปควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 4.5-9 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากย้ายปลูกไปแล้ว 4-6 สัปดาห์ และใส่ชาวงกลางฤดูกาลปลูกอีกครั้งหนึ่ง ปุ๋ยสตรอเบอรี่ที่ใช้ส่วนมากเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต การให้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากในช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่นั้นอาจทำให้ผลผลิตลดลงได้
การให้ปุ๋ยต้องระวังอย่าให้ตกค้างที่ใบสตรอเบอรี่ เพราะอาจจะทำให้ใบไหม้ได้ ควรมีการให้น้ำทันทีหลังจากการให้ปุ๋ยในแต่ละครั้ง
พบบ่อยครั้งว่าผลผลิตลดลงเนื่องจากการขากน้ำมากกว่าขาดปุ๋ย

 

คำแนะนำทั่วไป

( General recommendations )

     สตรอเบอรี่จะมีการตอบสนองต่อปริมาณที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีที่เป็นการค้าทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมี โปรแตสเซียม มังกานีส เหล็ก และโบรอน

จำนวนของปุ๋ยที่ต้องการนี้มีการแปรผันอย่างมากโดยขึ้นกับสภาพของดินและการเตรียมการก่อนปลูก การตัดสินใจสำหรับโปรแกรมการใส่ปุ๋ยอาจต้องคำนึงถึง
1. พื้นฐานของโปรแกรมปุ๋ยที่ใช้กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ชนิดพืช ที่ได้ปลูกในฤดูการก่อนการให้ปุ๋ยในช่วงที่ผ่านมา และคความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับต้นสตรอเบอรี่
2. ตารางการให้ปุ๋ยควรมีพื้นฐานมาจากตารางการตรวจสอบดิน การให้ปุ๋ย ช่วงที่ผ่านมาและความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับสภาพพื้นที่อาจมีการส่งดินไปตรวจสอบและปฏิบัติตามคำแนะนำที่จำเป็น
3. โปรแกรมการให้ปุ๋ยโดยทั่วไป ควรมาจากประสบการณ์และคำแนะนำ ของนักวิชาการเกษตร เช่น การให้ปุ๋ยคอก 8 ตันผสมกับปุ๋ย 10-10- 10 ในปริมาณ 90 กิโลกรัมต่อไร่ก่อนที่จะทำการปลูกสตรอเบอรี่การให้ปุ๋ยไนโตรเจน 4.5-9 กิโลกรัมหลังย้ายปลูก 4-6 สัปดาห์และอีกครั้งในช่วงฟดูกาลปลูกโดยจะไม่มีการให้เพิ่มอีก ควรควบคุมให้ดินมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH ) ประมาณ 5.5-6.5 ถ้าหากต่ำกว่า 5.0 อาจทำให้ผลผลิตลดลงได้

การเลือกพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่

    แม้ว่าสตรอเบอรี่เป็นพืชที่สามารถปลูกและขึ้นได้ในสภาพดินทั่ว ๆไปของหลายพื้นที่แต่การเลือกหรือพิจารณาพื้นที่ปลูก นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะผลิตเป็นการค้าให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การตลาด แรงงานที่สนับสนุน สภาพของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสภาพและชนิดของดินที่เหมาะสมของพื้นที่ที่ทำการปลูกสตรอเบอรี่สำหรับในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้นได้จัดการระบบเขตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยสภาพของดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยของแต่ละปีในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมแล้วนั้นอาจสามารถให้ผลผลิตสตรอเบอร์รี่ได้เกือบ 10 ตันต่อไร่ในช่วงฤดูการปลูกหนึ่งๆ

ทำเล ( Site )

พื้นที่ปลูกควรเป็นที่มีระดับ สามารถป้องกันและชะล้างของหน้าดินได้มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดีและมีสภาพอากาศโดยเฉลี่ยที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงของสตรอเบอร์รี่นอกจากนี้พื้นที่ควรเป็นควรเป็นที่ลาดเทเล็กน้อยและไม่มีน้ำค้างแข็งระหว่างช่วงการออกดอกสตรอเบอรี่ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่เคยปลูกมะเขือ พริก มันฝรั่ง และมะเขือเทศมาก่อนหรือควรเว้นการปลูกพืชเหล่านี้อย่างน้อย 3 ปี ก่อนจะมาปลูกสตรอเบอรี่ไม่ควรปลูกสตรอเบอรี่ในพื้นที่ปัจจุบันที่มีต้นหญ้าขึ้นเต็ม(พื้นที่ที่ยังไม่เคยเพาะปลูกมาก่อน) เพราะจะมีปัญหาเรื่องของการกำจัดวัชพืชตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนด้วงที่กัดกินรากพืช

ดิน ( Soil )

   สตรอเบอรี่เป็นพืชที่ชอบดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย ( pH 5.8-6.5 ) และไม่ทนต่อสภาพดินเค็ม( saline soil ) พื้นที่ที่มีสภาพดินเป็นดินทราย ดินปนกรวด หรือดินเลน
ควรถูกเป็นข้อพิจารณาสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่มากกว่าสภาพพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวปานกลางถึงเหนียวมากพื้นที่ดินปนทรายทำให้มีความสะดวกต่อการปฏิบัติงานในช่วงแรก ๆ ตั้งแต่การเตรียมแปลงก่อนการปลูกจนกระทั่งเริ่มการเก็บเกี่ยวนอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์ต้นไหลอีกด้วย แต่ในสภาพพื้นที่ดินปนทรายมาก ๆปกติมีธาตุอาหารที่ไม่เพียงพอ และอาจพบปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องของความแห้งแล้ง

   ดินที่เป็นดินเหนียวมาก ๆ มักพบปัญหาในเรื่องความลำบาคขณะปฏิบัติงาน ดินแห้งและแข็งตัวได้ง่ายมีการดูดซับน้ำได้ช้า จึงไม่ควรเลือกใช้ในการปลูกสตรอเบอรี่ ปกติดินเหนียวมีอินทรียวัตถุและความชื้นสูงแต่มีการระบายน้ำไม่ดี ดินที่มีความเหมาะสมที่สุดค่อนข้างผันแปร ไปตามพันธุ์และสถานที่ได้จึงควรพิจารณาพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวดเล็กที่มีหน้าดินสึกและรักษาความชื้นอยู่ได้ตลอดเวลา

การระบายน้ำดีก็เป็นสิ่งจำเป็นมาก หลังจากการย้ายปลูกและต้นสตรอเบอรี่เริ่มมีการเจริญเติบโตแล้ว ระบบรากของสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อดินที่มีการอิ่มตัวของน้ำมาก ซึ่งจะทำให้รากเน่าตายและไม่มีพัฒนาของรากใหม่ขึ้นมาทดแทน เป็นสาเหตุทำให้ต้นตั้งตัวได้ช้าหรือเน่าตายได้

ประวัติของดินก่อนการปลูก

( Previous history of soil )

     เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ได้ทราบแล้วว่าการที่จะให้ได้รับผลผลิตสูงกว่าปกติต้องปลูกในพื้นที่ใหม่และปราศจากโรคแต่บางพื้นที่แทบจะไม่สามารถเป็นไปได้และมีความจำเป็นต้องปลูกในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องกันมาหลายๆปีบ่อยครั้งที่พบว่าดินมีการสูญเสียธาตุอาหารคุณสมบัติทางกายภาพ มีปัญหาเรื่องศัตรู ต่าง ๆ วัชพืชหรือเมล็ดวัชพืชพวกมีอายุหลายปีแมลงและโรคทางดิน และไส้เดือนฝอย สำหรับปัญหาเรื่องศัตรูต่าง ๆ สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการจัดระบบปลูกพืชหมุนเวียนที่ดี การควบคุมวัชพืช จะเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้หากพิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีปัญหาน้อยกว่าถ้าหากพบว่ามีวัชพืชหลายปีขึ้นอยู่ไม่ควรปลูกสตรอเบอรี่จนกว่าจะได้มีการกำจัดให้หมดไปแมลงจำพวกตัวอ่อนของด้วงและพวกกัดกินรากของสตรอเบอรี่ ซึ่งมีปัญหาทำให้ผลผลิตลดลงอาจต้องถู ควบคุมด้วยการปลูกพืชอื่นแทนสตรอเบอรี่เป็นเวลาหลาย ๆ ปีหรือโดยการใช้สารเคมีกำจัดแมลงทางดิน โรคทางดินสองโรคคือ โรคเหี่ยว (Verticillium wilt )และโรครากเน่า ( Red stele )ไม่สามารถควบคุมโดยการพ่นสารเคมีได้ถ้าหากพบว่ามีโรคเหล่านี้ระบาดอยู่ในแปลงก่อนแล้วควรหลีกเลี่ยงพื้นที่นี้ หรือเลือกปลูกพันธุ์ สตรอเบอรี่ที่มีความต้านทานเพียงอย่างเดียว

การปลูกสตรอเบอรี่

สตรอเบอรี่จัดเป็นพืชที่มีอายุหลายปี (Perennial plant ) และเป็นพืชที่ชอบความหนาวเย็น ที่ลำต้น( Crown ) ของต้นแม่ ( Mother plant ) จะมีส่วนที่เรียกว่า ( Leaf axil ) และที่โคนของแต่ละหูใบจะมีไหล (Runner )  เจริญออกมาจนสามารถเติบโต กลายเป็นต้นสตรอเบอรี่เล็ก ๆ   ( Daughter plant )หรือที่เรียกกันว่าต้นไหล สำหรับใช้ในการขยายพันธุ์นำมาปลูกเป็นต้นใหม่ต่อไปการปลูกสตรอเบอรี่แบบใช้ต้นไหลปลูกนั้น หากต้นไหลมีการตั้งตัวแล้วจะสามารถเจริญได้อย่างต่อเนื่องความยาวของวันที่ค่อยๆ สั้นลงและอุณหภูมิที่เย็นทำให้ต้นสตรอเบอรี่สามารถสร้างตาดอก  (Flower bud formation ) ได้ แต่ในช่วงฤดูหนาวจะมีสภาพวันที่สั้นและอุณหภูมิเย็นลงไปอีกต้นสตรอเบอรี่จะเกิดการพักตัว (Dormancy ) ซึ่งช่วงหรือระยะทางของการพักตัวนี้ขึ้นกับพันธุ์ต่าง ๆ

เมื่อพ้นจากการพักตัวแล้วจึงสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้การที่จะให้พ้นจากสภาพการพักตัวได้นั้นความยาวของวันต้องยาวขึ้นและอุณหภูมิต้องสูงขึ้นด้วยหลังจากที่ต้นสตรอเบอรี่ผ่านพ้นสภาพการพักตัวแล้วจะเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงเริ่มมีการออกดอกและกลายเป็นผลสตรอเบอรี่สามารถเก็บเกี่ยวมาบริโภคได้

ต้วอย่างแปลงปลูก

ก่อนลงมือปลูกท่านนักปลูกควรศึกษาข้อมูลเชิงลึกและรายละเอียดต่างๆให้ดีเสียก่อนก่อน  ไม่ว่าจะเป็นสภาพดิน อากาศ และที่สำคัญที่สุดก็คือพันธุ์แหล่งที่มาชองพันธุ์ เนื่องจากการปลูกสตรอเบอรี่ใช้งบลงทุนต่อไร่ค่อนข้างสูง ถ้าหากพันธุ์ที่ใช้ปลูกไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาจาแหล่งเพาะพันธุ์บนที่สูงจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำ จะทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุนลงแรง


หน้าถัดไป