3 Wed , July 2024

การเลือกพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่

    แม้ว่าสตรอเบอรี่เป็นพืชที่สามารถปลูกและขึ้นได้ในสภาพดินทั่ว ๆไปของหลายพื้นที่แต่การเลือกหรือพิจารณาพื้นที่ปลูก นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะผลิตเป็นการค้าให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การตลาด แรงงานที่สนับสนุน สภาพของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสภาพและชนิดของดินที่เหมาะสมของพื้นที่ที่ทำการปลูกสตรอเบอรี่สำหรับในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้นได้จัดการระบบเขตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยสภาพของดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยของแต่ละปีในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมแล้วนั้นอาจสามารถให้ผลผลิตสตรอเบอร์รี่ได้เกือบ 10 ตันต่อไร่ในช่วงฤดูการปลูกหนึ่งๆ

ทำเล ( Site )

พื้นที่ปลูกควรเป็นที่มีระดับ สามารถป้องกันและชะล้างของหน้าดินได้มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดีและมีสภาพอากาศโดยเฉลี่ยที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงของสตรอเบอร์รี่นอกจากนี้พื้นที่ควรเป็นควรเป็นที่ลาดเทเล็กน้อยและไม่มีน้ำค้างแข็งระหว่างช่วงการออกดอกสตรอเบอรี่ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่เคยปลูกมะเขือ พริก มันฝรั่ง และมะเขือเทศมาก่อนหรือควรเว้นการปลูกพืชเหล่านี้อย่างน้อย 3 ปี ก่อนจะมาปลูกสตรอเบอรี่ไม่ควรปลูกสตรอเบอรี่ในพื้นที่ปัจจุบันที่มีต้นหญ้าขึ้นเต็ม(พื้นที่ที่ยังไม่เคยเพาะปลูกมาก่อน) เพราะจะมีปัญหาเรื่องของการกำจัดวัชพืชตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนด้วงที่กัดกินรากพืช

ดิน ( Soil )

   สตรอเบอรี่เป็นพืชที่ชอบดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย ( pH 5.8-6.5 ) และไม่ทนต่อสภาพดินเค็ม( saline soil ) พื้นที่ที่มีสภาพดินเป็นดินทราย ดินปนกรวด หรือดินเลน
ควรถูกเป็นข้อพิจารณาสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่มากกว่าสภาพพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวปานกลางถึงเหนียวมากพื้นที่ดินปนทรายทำให้มีความสะดวกต่อการปฏิบัติงานในช่วงแรก ๆ ตั้งแต่การเตรียมแปลงก่อนการปลูกจนกระทั่งเริ่มการเก็บเกี่ยวนอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์ต้นไหลอีกด้วย แต่ในสภาพพื้นที่ดินปนทรายมาก ๆปกติมีธาตุอาหารที่ไม่เพียงพอ และอาจพบปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องของความแห้งแล้ง

   ดินที่เป็นดินเหนียวมาก ๆ มักพบปัญหาในเรื่องความลำบาคขณะปฏิบัติงาน ดินแห้งและแข็งตัวได้ง่ายมีการดูดซับน้ำได้ช้า จึงไม่ควรเลือกใช้ในการปลูกสตรอเบอรี่ ปกติดินเหนียวมีอินทรียวัตถุและความชื้นสูงแต่มีการระบายน้ำไม่ดี ดินที่มีความเหมาะสมที่สุดค่อนข้างผันแปร ไปตามพันธุ์และสถานที่ได้จึงควรพิจารณาพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวดเล็กที่มีหน้าดินสึกและรักษาความชื้นอยู่ได้ตลอดเวลา

การระบายน้ำดีก็เป็นสิ่งจำเป็นมาก หลังจากการย้ายปลูกและต้นสตรอเบอรี่เริ่มมีการเจริญเติบโตแล้ว ระบบรากของสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อดินที่มีการอิ่มตัวของน้ำมาก ซึ่งจะทำให้รากเน่าตายและไม่มีพัฒนาของรากใหม่ขึ้นมาทดแทน เป็นสาเหตุทำให้ต้นตั้งตัวได้ช้าหรือเน่าตายได้

ประวัติของดินก่อนการปลูก

( Previous history of soil )

     เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ได้ทราบแล้วว่าการที่จะให้ได้รับผลผลิตสูงกว่าปกติต้องปลูกในพื้นที่ใหม่และปราศจากโรคแต่บางพื้นที่แทบจะไม่สามารถเป็นไปได้และมีความจำเป็นต้องปลูกในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องกันมาหลายๆปีบ่อยครั้งที่พบว่าดินมีการสูญเสียธาตุอาหารคุณสมบัติทางกายภาพ มีปัญหาเรื่องศัตรู ต่าง ๆ วัชพืชหรือเมล็ดวัชพืชพวกมีอายุหลายปีแมลงและโรคทางดิน และไส้เดือนฝอย สำหรับปัญหาเรื่องศัตรูต่าง ๆ สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการจัดระบบปลูกพืชหมุนเวียนที่ดี การควบคุมวัชพืช จะเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้หากพิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีปัญหาน้อยกว่าถ้าหากพบว่ามีวัชพืชหลายปีขึ้นอยู่ไม่ควรปลูกสตรอเบอรี่จนกว่าจะได้มีการกำจัดให้หมดไปแมลงจำพวกตัวอ่อนของด้วงและพวกกัดกินรากของสตรอเบอรี่ ซึ่งมีปัญหาทำให้ผลผลิตลดลงอาจต้องถู ควบคุมด้วยการปลูกพืชอื่นแทนสตรอเบอรี่เป็นเวลาหลาย ๆ ปีหรือโดยการใช้สารเคมีกำจัดแมลงทางดิน โรคทางดินสองโรคคือ โรคเหี่ยว (Verticillium wilt )และโรครากเน่า ( Red stele )ไม่สามารถควบคุมโดยการพ่นสารเคมีได้ถ้าหากพบว่ามีโรคเหล่านี้ระบาดอยู่ในแปลงก่อนแล้วควรหลีกเลี่ยงพื้นที่นี้ หรือเลือกปลูกพันธุ์ สตรอเบอรี่ที่มีความต้านทานเพียงอย่างเดียว