19 Fri , April 2024

blog

ดิน

ดิน (soil) ส่วนประกอบของดิน

เรื่องของดินเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องรู้ พืชจะงามผลิตจะมีคุณภาพก็ต้องเกิดมาจากดินที่มีคุณภาพ

ส่วนประกอบของดิน

พืชงามย่อมมาจากดินที่ดี

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์ เช่น การเอาดินมาทำสิ่งก่อสร้าง การเพาะปลูกพืชผักต่างๆเป้นต้น ของสิ่งไหนก็ตามถ้าเรามุ่งแต่จะใช้ประโยชน์อย่างเดียวแต่ไม่มีการบำรุ่งรักษาในไม่ช้าของสิ่งนั้นก็จะต้องเสื่อมเสียไปไปอย่างรวดเร็ว ดินก็เช่นกันถ้าขาดการปรับปรุงและบำรุงรักษาเอาไว้ดินกินก็จะเสื่อมและให้ผลผลผลิตในการเพาะปลูกลดลงเรื่อยๆในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ลดน้อยลงจึงส่งผลให้เกิดการขยายพื้นท่ีในการเพาะปลูก ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร ถ้าหากเกษตกร รู้จักดินในเชิงลึก วางแผนการใช้งานและการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องจะให้ได้ผลผลิตต่อไร่ในอัตราสูงสุด ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าก็จะลดน้อยลง 

  ดินมีที่มาจากการผุกร่อนย่อยสลายตัวของหินและแร่ร่วมกับการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์คลุกเคล้าผสมกัน ผ่านระยะเวลาอันยาวนานจนถือกำเหนิดเป็นดินในที่สุด 

 

ดินมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

ในดินประกอบด้วย 4 ส่วน คือ อนุภาคดิน (อนินทรียวัตถุ) ,ชีวภาพ (อินทรียวัตถุ),น้ำ,อากาศ ซึ่งดินที่ดีเหมาะแก่การเพาะปลูก ต้องมีส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

1. อนินทรียวัตถุ 

อนินทรียวัตถุ  คือ แร่ธาตุที่ได้มาจากการผุพังย่อยสลายตัวของแร่และหิน 

2. อินทรียวัตถุ

อินทรียวัตถุ คือ ซากพืช ซากสัตว์ทุกชนิดสลายตัวด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย และส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่จากกระบวนการย่อยสลาย

3. น้ำในดิน

น้ำในดิน เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในดิน ซึ่งดินแต่ละชนิดก็จะมีน้ำในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไป

4. อากาศในดิน

อากาศจะแทรกอยู่ระหว่างเม็ดดินตามช่องว่างดินทำให้ดินโปร่งมีรูพรุนมาก  

การบุกรุกพื้นที่ทำกินด้วยการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำและเป็นตัวที่ช่วยปรับอุณภูมิให้อากาศเหมาะสม พอเหมาะไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไปแต่ผลที่ได้มาจากการบุกรุกป่าตัวอย่างเช่นในฤดูฝน น้ำในจะชะเอาอาหารพืชบริเวณหน้าดินลงสู่แม่น้ำลำคลองดินที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดินชั้นเลวที่ให้ผลผลิตต่ำ

       ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เราใช้กันมากที่สุด เช่นเอาดินมาทำสิ่งก่อสร้าง เพาะปลูกพืชผักต่าง ๆ เป็นต้นแต่ของใดก็ตาม ถ้าเรามุ่งแต่จะใช้อย่างเดียวแต่ไม่มีการบำรุงรักษา ไม่ช้าของนั้นจะต้องเสื่อมเสียไป อย่างไม่ต้องสงสัยเลย ดินก็เช่นกันถ้าขาดการปรับปรุง หรือบำรุงรักษาไว้ดินก็จะเสื่อม กล่าวคือให้ผลิตผลต่ำลงทุกทีในขณะที่ความต้องการผลิตผลสูงขึ้น เพราะจำนวนพลโลกเพิ่มขึ้นทุกวัน ปัญหานี้คนส่วนใหญ่มักจะไปแก้ด้วยการเพิ่มเนื้อที่ในการผลิตโดยการถากถางทำลายป่า อันเป็นต้นน้ำลำธารและเป็นตัวช่วยลดหรือปรับอุณหูมิของอากาศให้พอเหมาะ ไม่หนาวหรือร้อนเกินไปสิ่งที่ตามมาได้แก่การพังทลายของหน้าดินในฤดูฝนน้ำฝน จะชะเอาอาหารพืชบริเวณหน้าดินลงสู่แม่น้ำลำคลองหมด ดินที่เหลืออยู่จะกลายเป็นดินที่เลวให้ผลผลิตต่ำปัจจุบันนี้ ความต้องการผลผลิตสูงขึ้น พื้นที่เกษตรกรรมมีจำกัดจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคิดค้นหาวิธีต่าง ๆ มาทำให้ดินดีขึ้น โดยทั่ว ๆไปแล้วเกษตรกรมักจะคิดถึงด้านปุ๋ยน้อยคนนักที่จะคิดถึงโครงสร้างของดิน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ เพราะอิทธิพลของมันไม่เพียงแต่จะทำให้การระบายอากาศหรือน้ำดีขึ้นเท่านั้น มันยังทำให้แร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในดินนั้นสลายตัว ให้ธาตุตัวที่เป็นอาหารและประโยชน์แก่พืชโดยตรง ทำให้ผลผลิตสูงขึ้นตามมาด้วย นอกจากนี้โครงสร้างของดินยังมีผลต่อการพังทลายของดินด้วย โดยเฉพาะดินตามไหล่เขาหรือดินที่มีความลาดชันสูง

เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญของโครงสร้างแล้ว ลองมากล่าวถึงความเป็นมาของโครงสร้างสักเล็กน้อย โดยต้องเริ่มจากการเกิดของดินว่าดินนั้นเกิดมาได้อย่างไร ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ดิน เกิดจากการสลายตัวของหินชนิดต่าง ๆ ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยโดยขบวนการหรือวิธีการทางเคมีและกายภาพ กล่าวคือเมื่อหินนั้นโผล่ออกมาพบกับอากาศ (ซึ่งความจริงในธรรมชาตินั้น อาจจะไม่ได้โผล่ออกมาเองแต่ออกมาให้เราเห็นเนื่องจากการพังทลายของดินชั้นบนก่อน โดยน้ำมือมนุษย์ทำการถากถางไปก็ได้ หรือจะโดยที่มีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหวก็ได้ ) และถูกกับแก๊สออกซิเจนน้ำ กรด อันเกิดจากการเผาไหม้เช่น กรดคาร์บอนนิค กรดกำมะถัน หรือด่าง แล้วธาตุในหินเหล่านั้นจะทำปฏิกริยากับสิ่งดังกล่าวนี้ทำให้หินก้อนใหญ่ ๆ แตกหรือสลายตัวกระจายออกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อยขนาดต่าง ๆ กัน บางอย่างก็ยังมองเห็นซากเดิมอยู่ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงจากเดิมไป เช่น ตามภูเขาบางแห่งจะพบหินที่กำลังสลายตัว เมื่อเอามือจับแล้วบี้หินเหล่านั้นจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดดินในขั้นต่อไปนั้น เศษหินชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านี้ จะถูกน้ำ ลมและอุณหภูมิ ที่แตกต่างกันของกลางวันและกลางคืน หรือตามฤดูกาล ทำให้เศษหินแตกออกเป็นอนุภาค หรือชิ้นเล็กลงไปอีก ซึ่งขนาดของแต่ละอนุภาคนั้นกับชนิดของหินที่สลายตัว กล่าวคือหินบางอย่างสลายตัให้ดินเหนียวหรือมีอนุภาคขนาดไม่เวกิน 2 ไมครอน ( 1 ไมครอนเท่ากับเศษหนึ่งส่วนพันมิลลิเมตร ) มากกว่าขนาดอื่น เราเรียกมันให้ดินเหนียวหินบางชนิดสลายตัวให้ดินร่วนปนทราย คือ มีอนุภาคขนาดไม่เกิน 2 ไมครอนบ้างขนาด 2 – 50 ไมครอนบ้างและขนาด 50 ไมครอนถึง 2 มิลลิเมตร ในปริมาณที่พอ ๆ กันและหินบางชนิดสลายตัวให้อนุภาคขนาด 50 ไมครอนขึ้นไปมากกว่าขนาดอื่น ดินพวกนี้มักหยาบหรือเราเรียกว่าดินทรายนั้นเอง อนุภาคเหล่านี้จะถูกลมหรือน้ำพัดพาไปทับถมปะปนคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ อันเกิดจากซากพืชสัตว์รวมตัวเกาะกลุ่มกันเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย เม็ดดินก้อนเล็กก้อนน้อยรวมตัว เชื่อมต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ดังที่เราหรืออยู่อาศัยกันทุกวันนี้นั้นเอง การเกาะหรือรวมตัวเชื่อมต่อกันจนเป็นก้อนเป็นผืนแผ่นใหญ่ของอนุภาค ที่เกิดจากการสลายตัวของหิน ซึ่งต่อไปเราจะเรียกว่าอนุภาคของดินนั้น มันจะเกาะกันเป็นก้อนที่มีรูปร่างต่าง ๆ กันเมื่อเราหักหรือทุบให้มันแตกจากก้อนใหญ่และมองไปที่ก้อนดิน จะพบว่าการเรียงตัวหรือจัดว่างตัวของอนุภาคของดินที่เกิดจากหินแต่ละชนิด จะไม่ค่อยเหมือนกัน ช่องระหว่างอนุภาคดินต่างกัน คือ มีมากบ้างน้อยบ้าง บางชนิดช่องว่างเหล่านั้นต่อกันเป็นรูขนาดและแบบต่าง ๆ กันออกไปทั้งนี้จากอิทธิพลของประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ตามขอบรอบ ๆ อนุภาคของดินความชื้นอุณหภูมิ และขนาดของอนุภาคของดินนั้นเองคุณสมบัติที่เกิดขึ้น และปรากฏให้เห็นนี้เอง ซึ่งเป็นสิ่งที่กล่าวถึงในขณะนี้เองโครงสร้างของดิน พี่จะพูดหรือเปล่าว่าดีหรือเลวนั้นขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย หรือประโยชน์ที่จะนำดินนั้นไปใช้งาน ที่ดินแถวๆลพบุรี ที่มีดินชั้นบนค่อนข้างดำ ยืดตัวและหดตัวสูงมาก ระบายน้ำเร็วที่สุด แต่ความอุดมสมบูรณ์สูง ถ้าจะเอาดินนั้นไปทำถนนจะได้ถนนที่ไม่ทนทาน โครงสร้างของมันไม่เหมาะกับถนน แต่ถ้าเอาไปทำแกนเขื่อนกั้นน้ำ จะกั้นน้ำได้ดี หรือทำนาข้าว จะเก็บกักน้ำไว้หล่อเลี้ยงต้นข้าวได้ดี ปลูกข้าวงาม โครงสร้างของดินในแง่ชลประทานและการเกษตรกรรมที่ดีแต่เลวในแง่ของการก่อสร้างหรือวิศวกรรมโยธาเป็นต้น อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนต้องการจะให้กสิกร โดยเฉพาะยุวเกษตรกรผู้ที่จะเป็นพลังอันสำคัญทางเกษตรกรรมของชาติในอนาคต ได้ทราบถึงความเป็นมาของการเกิดดินและโครงสร้างของมัน รวมไปถึงการอนุรักษ์รักษาดินที่ดีอยู่แล้วให้ดีมีประโยชน์มากที่สุด

___________________

สุทัศน์ สิทธิสมวงศ์

 

ผักหวานป่า การแพร่กระจายพันธุ์

     ผักหวานป่าถูกขนานนามว่าเป็นราชาแห่งผักพื้นบ้าน  ทรงคุณค่าทั้งรสชาติและคุณสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ผักหวานป่าแพร่และขยายพันธุ์ในป่าเขตร้อนทั่วไปโดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซียและพม่าสำหรับผักหวานป่าในประเทศไทยนั้น การแพร่พันธุ์ของผักหวานป่า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด พื้นที่ของดงผักหวานป่าขนาดใหญ่ที่สุดจะอยู่ในเขตป่าภาคเหนือ จะเชื่อมต่อกันผ่านแนวสันเขาที่ทอดยาวในเขตป่าภาคเหนือเกือบทุกจังหวัด

เมล็ดผักหวานป่า0002

เมล็ดสุกของต้นผักหวานป่า

     เริ่มจากดงผักหวานป่าบนยอดดอยของจังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมกับดงผักหวานป่าของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก เชื่อมไปยังดงผักหวานป่าของจังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง จากนั้นก็เชื่อมไปยังดงผักหวานป่าของจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอุตรดิตถ์ผ่านไปยังจังหวัดน่านและจังวัดพะเยา ต้นผักหวานป่าในจังหวัดแพร่และเชียงรายมีประปรายไม่ได้มีจำนวนมากเหมือนจังหวัดอื่นๆตามที่กล่าวมาข้างต้น

        

แหล่งเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าอันดับรองลงมาคือ

ภาคกลาง  สระบุรี กาญจนบุรี

ภาคอีสาน นครราชสีมา นครพนม อุดรธานี สกลนคร

 ภาคใต้ กระบี่ สุราษฎร์ธานี 

ในอดีตการแพร่กระจายพันธุ์ผักหวานป่าอาศัยสัตว์พาหนะในการช่วยแพร่กระจายพันธุ์เพียงเท่านั้นแต่ในปัจจุบันมนุษย์สามารถขยายพันธุ์ผักหวานป่าในการนำมาปลูกในบ้านและในสวนได้แล้วและมีวิวัฒนาการและทักษะในการเพาะปลูกที่ดีขึ้นเรื่อยๆสำหรับการเพาะปลูกขยายพันธุ์ผักหวานป่าในแต่ละปี

การขยายพันธุ์ผักหวานป่ามีดังต่อไปนี้

1การปลูกด้วยเมล็ด

2การปลูกด้วยต้นกล้า

3การปลูกด้วยกิ่งตอน

4การขยายพันธุ์โดยการชำราก(ชำไหล)

       การปลูกผักหวานป่าในปัจจุบันไม่ได้ยากเหมือนดังเดิมอีกต่อไปแล้วในอดีตมีการทดลองปลูกด้วยวิธีการต่างๆมากมายส่วนใหญ่จะล้มเหลวตายเป็นส่วนมากแต่ในปัจจุบัน วิวัฒทนาการในการปลูกผักหวานป่านั้นก้าวหน้ามากแล้วจึงทำให้การปลูกผักหวานป่าไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป   

      จากประสบการณ์ภาคสนามของผู้เขียนนานนับสิบปี ในภารกิจตามหาแหล่งเมล็ดพันธุ์ของผักหวานป่าในภาคเหนือ ถึงขั้นรถเสียนอนต้องนอนค้างในป่าก็เคยมีมาแล้ว  จึงมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับแหล่งเมล็ดพันธุ์ของผักหวานป่าในภาคเหนือเป็นอย่างดี การขยายพันธุ์ของต้นผักหวานป่าในป่านั้นจะอาศัยสัตว์พาหนะกินเมล็ดผักหวานป่าเป็นอาหาร ผ่านระบบย่อยอาหาร ​ กระเพาะ ลำไส้ เมื่อสัตว์เหล่านี้ถ่ายมูลที่มีเมล็ดผักหวานป่าปนอยู่เมื่อถ่ายออกมาแล้วก็จะทำให้เกิดการขยายพันธุ์ผักหวานป่า โดยสัตว์พาหนะผู้ช่วยเหล่านี้เช่น ลิง กวาง เนื้อทราย อีเห็น เนื่องจากเมล็ดผักหวานป่ามีความกว้างประมาณ 0.5  นิ้ว ยาวประมาณ 1 นิ้ว  สัตว์และนกขนาดเล็กไม่สามารถกลืนเมล็ดลงท้องได้จึงไม่สามารถเป็นสัตว์พาหนะในการขยายพันธุ์ของต้นผักหวานป่าได้ (ลิง กวาง เนื้อทรายในป่าภาคเหนือปัจจุบันสาบสูญหรือไม่ก็ใกล้สาบสูญแล้วเนื่องจากถูกนนุษย์ล่าไปเป็นอาหาร) ปัจจุบัน อีเห็นจะเป็นสัตว์พาหนะหลักๆที่แพร่ขยายพันธุ์ผักหวานป่า พรานป่าถ้าเจอกองมูลของอีเห็นที่กินเมล็ดผักหวานป่า ก็จะถือว่าโชคดีเพราะไม่ต้องแกะและร่อนเปลือเมล็ดผักหวานด้วยตัวเอง

     ปัจจุบันนั้นมีผู้สนใจปลูกผักหวานป่าเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นไม้ยืนต้นที่ทนต่อโรคพืชโรคเแมลง ปลูกครั้งเดียวเก็บขายได้ตลอดชีวิตเนื่องจากผักหวานป่าเป็นไม้ป่าที่อายุยืนนับร้อยปี ประกอบกับรสชาติที่อร่อยและสรรพคุณที่มากมาย การที่ถูกขนานนามว่าเป็นราชาแห่งผักพื้นบ้านทั้งปวงจึงเป็นฉายาที่สมเหตุสมผลไม่เกินจริง มีการขยายพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกทางภาคอีสาน ผู้คนให้ความนิยมบริโภคแต่ผลลิตของยอดผักหวานป่า ไม่พอต่อความต้องการโดยเฉพาะผักหวานป่านอกฤดูกาล ซึ่งมีราคาแพงมากแพงกว่าผักทั่วๆไปหลายเท่าตัว

สตรอเบอรี่ พระราชทาน80

สตรอเบอรี่ราชินี ของผลไม้ทั้งปวง

จุดกำเหนิดของการปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ 2477 โดยชาวอังกฤษเป็นผู้นำพันธุ์สตรอเบอรี่เข้ามาปลูกและแพร่ขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาถูกเรียกว่าพันธุ์พันธุ์สตรอเบอรี่นี้ว่า พันธุ์พื้นเมือง เนื่องจากมีผลขนาดเล็ก ผลผลิตน้อยไม่ดกและรสชาติไม่ดี และต่อมาเมื่อมีการนำพันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์ใหม่เข้ามาปลูกโดยมูลนิธิโครงการหลวง  ซึ่งให้ผลผลิตที่ดีกว่าจึงเรียกพันธุ์ที่ชาวอังกฤษนำเข้ามาครั้งแรกว่า สตรอเบอรี่พันธุ์พื้นเมือง

 

ในปี พ.ศ 2512 มูลนิธิโครงการหลวงได้ก่อนตั้งขึ้น เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ของการปลูกฝิ่นในที่ราบสูงของภาคเหนือ ในปี พ.ศ  2517 สตรอเบอรี่เป็นไม้เมืองหนาวชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาปลูกและพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้ปลูกในพื้นที่ราบสูงของภาคเหนือได้ เนื่องจากมีอากาศที่หนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว เหมาะแก่การปลูกไม้เมืองหนาว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นส่งผลให้มีพืชผักผลไม้มืองหนาวมากมายในปัจจุบัน เพราะถ้าหากไม่นำพันธุ์พืชผักผลไม้เมืองหนาวมาส่งเสริมให้ชาวเขาปลูก ก็ยากที่จะโน้มน้าวให้เลิกปลูกฝื่นได้  

ใน 2535 สตรอเบอรี่เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นการบริโภคภายในประเทศ ผู้บริโภคภายในประเทศรู้จักและนิยมการทานสตรอเบอรี่มากขึ้นและประกอบกับตลาดภายนอกประเทศก็ให้ความนิยมสตรอเบอรี่สูงขึ้นเช่นกัน

เกษตรกรให้ความสนใจในการปลูกสตรอเบอรี่แพร่หลายมากขึ้นจากแรกเริ่มเดิมทีนิยมปลูกสรอเบอรี่เฉพาะบนพื้นที่ภูเขาสูงในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ แต่ได้มีการเริ่มปลูกสตรอเบอรี่ในบริเวณพื้นราบในจังหวัด เชียงใหม่ อำเภอสะเมิง อำเภอแม่ริม อำเภอจอมทอง และอำเภอฝาง 

ถึงแม้ผลผลิตสตรอเบอรี่จะไม่ดกและขนาดของผลสตรอเบอรี่จะไม่เท่ากับพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่บนภูเขา แต่ก็สามารถจำหน่ายได้ราคาต่อกิโลกรัมที่แพงกว่า เนื่องจากสตรอเบอรี่ตั้งแต่เริ่มปลูกช่วงแรกจนถึงปัจจุบันนี้ ผลผลิตของสตรอเบอรี่ไม่เคยเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ

ในจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ตามสอง ข้างทางก่อนที่จะเข้าตัวอำเภอแม่ส่ายจังหวัดเชียงราย สองข้างทางจะเต็มไปด้วยร้านขายผลสตรอเบอรี่สดสีแดงๆเต็มสองข้างทาง ในอำเภอใกล้เคียงอำเภอแม่ส่ายเช่นแม่จัน เชียงแสน มีการปลูกสรอเบอรี่ประปรายแต่ไม่มากเมือเทียบกำอำเภอแม่ส่าย

ในปัจจุบันสตรอเบอรี่ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ได้ปลูกเฉพาะในเขตภาคเหนือเท่านั้น ในภาคอีสาน และ ภาคตะวันตก และในภาคกลางบางจังหวัดที่มีเขตรอยต่อใกล้กับภาคเหนือก็นิยมปลูกสตรอเบอรี่กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน

ถึงแม้ผลผลิตจะไม่ดกและขนาดของผลสตรอเบอรี่จะไม่ใหญ่เท่ากับพื้นที่บนภูเขาก็ตาม แต่ก็สามารถจำหน่ายได้ในราคาต่อกิโลกรัมที่แพงกว่า เนื่องจากสตรอเบอรี่ตั้งแต่เริ่มปลูกช่วงแรกๆจนถึงปัจจุบันนี้ ผลิตของสตรอเบอรี่ไม่เคยเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ

สตรอเบอรี่สายพันธุ์ต่างๆที่โครงการหลวงนำเข้ามาและพัฒนาสายพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตกรปลูก

พันธุ์พระราชทาน 13 หรือพันธุ์เคมบริดจ์เฟเวอริส ,  พันธุ์พระราชทาน 16 หรือพันธุ์ไทโอก้า , พันธุ์พระราชทาน 20 หรือพันธุ์สีคะโวยะ , พันธุ์พระราชทาน 50 หรือพันธุ์บี 5 ,  พันธุ์พระราชทาน 70 หรือพันธุ์โตโยนากะ ,  พันธุ์พระราชทาน 72 หรือพันธุ์โทชิโอโทม , พันธุ์ 329 , พันธุ์พระราชทาน 80 ,  พันธุ์พระราชทาน 88

พันธุ์พระราชทาน 80 คือพันธุ์ที่เกษตกรปลูกมากที่สุดในตอนนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้เกษตกรนิยมปลูกพันธุ์ 329 ควบคู่กันกับพันธุ์ พระราชทาน 80 เนื่องจากผิวจะหนากว่าทนกว่าการขนส่งทางไกลได้ดีกว่าพันธุ์พระราชทาน 80 แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เกษตกรลดการปลูกพันธุ์ 329 เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดเรื้อรัง

พันธุ์พระราชทาน 88 คือพันธุ์ที่โครงการหลวงพัฒนาล่าลุดเพื่อให้เกษตรกรปลูกแก้ไขปัญหาสายพันธุ์ก่อนหน้านี้เช่นพันธุ์ 80 ที่มีรสชาติอร่อยแต่ผิวบางไม่ทนต่อการขนส่งทางไกลได้ แต่เกษตรกรยังไม่นิยมปลูกเพราะยังไม่มีทักษะในการดูแลสตรอเบอรี่สายพันธุ์ใหม่เนื่องจากการปลูกสตรอเบอรี่จะมีงบลงทุนต่อไร่ค่อนข้างสูง การที่จะปลูกสตรอเบอรี่สายพันธุ์ใหม่ๆที่ไม่เคยปลูกมาก่อนในจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยง ดังนั้นเกษรตกรจะทดลองปลูกพันธุ์ใหม่จากน้อยไปหามาก เมื่อได้ผลดีอัตราผลผลิตต่อไร่สูงเป็นที่น่าพอใจ และตลาดต้องการก็จึงค่อยๆเพิ่มจำนวนการปลูกพื้นที่ปลูกตามที่ตลาดต้องการ

คลิปวิดีโอ

กาปลูกสตรอเบอรี่ในถุงเพาะชำ

ข้อมูลเพิ่มเติม>>

การชำกิ่งตอนผักหวานป่า

ข้อมูลเพิ่มเติม>>

การปลูกผักหวานป่าด้วยต้นกล้า

ช้อมูลเพิ่มเติม>>

เทคนิคการแต่งกิ่งตอนผักหวานป่า

ข้อมูลเพิ่มเติม>>

การจัดการและการเตรียมดินก่อนปลูกสตรอเบอรี่

     เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ แล้วพบว่าปกติการปลูกสตรอเบอรี่เป็นการลงทุนที่ใช้ระยะเวลาสั้นโดยใช้เวลาเพียงหนึ่งปีหรือน้อยกว่า ตั้งแต่ต้นมีการตั้งตัวจนกระทั่งเก็บเกี่ยวในปีถัดไปด้วยเหตุผลนี้จึงสามารถกำหนดร่วมกับการปลูกพืชหมุนเวียนอื่น ๆ ได้และมีความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ความจำเป็นและความต้องการธาตุอาหาร เพื่อทำให้ผลผลิตสูงขึ้นอยู่กับการจัดการสภาพดินให้ดีที่สุด 3 ประการคือ โครงสร้างของดินที่ดี ความชื้นในดินที่เพียงพอ และธาตุอาหารที่เพียงพอสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เงื่อนไขของสภาพดินเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันมาก และส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณของอินทรีย์วัตถุหรือฮิวมัสในดิน ปริมาณของอินทรียวัตถุในดินที่มีมากมีผลทำให้โครงสร้างดินดี เพื่อการดูดซับความชื้น และในระหว่างเกิดกระบวนการเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืช ดินที่ขาดอินทรีวัตถุควรมีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชสดเพิ่มเติม ก่อนมีการปลูกสตรอเบอรี่

ดินที่มีความร่วนซุยถือว่ามีโครงสร้างดิน ซึ่งทำให้เกิดสภาพที่เป็นประโยชน์ เช่น กิจกรรมของเชื้อแบคทีเรียและสารเคมีในดิน ช่วยเหลือการดูดซับน้ำในดิน ตลอดจนระบบรากมีการเจริญและพัฒนาได้ดี ระบบรากที่ขยายได้มากขึ้นนี้จะทำให้ต้นสตรอเบอรี่ได้รับความชื้นและปริมาณอาหารที่มากขึ้นตามไปด้วยปริมาณของความชื้นที่มากพอเหมาะเป็นสิ่งจำเป็นตลอดช่วงของการปลูกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างช่วงของ การเก็บเกี่ยวหลักจากการย้ายต้นไหลสตรอเบอรี่ลงปลูกแปลงแล้วจำเป็นต้องมีการรดน้ำตลอดช่วงสองสามสัปดาห์แรก เพื่อให้ต้นตั้งตัวและเกิดระบบรากใหม่เร็วขึ้น ต่อจากนั้นอาจพิจารณาให้น้ำประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์โดยขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดินในพื้นที่ปลูกและปริมาณฝนที่ตก

การปลูกพืชหมุนเวียน

( rotation )


      ในบางพื้นที่อาจมีการปลูกสตรอเบอรี่ในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องกันมานานหลาย ๆ ปี การปฏิบัติเช่นนี้ไม่เป็นการดี ถึงแม้พื้นที่เหล่านั้นจะถูกยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตสตรอเบอรี่ก็ตาม ควรต้องมีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยรักษาอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชแมลง และโรคต่าง ๆ ผลดีของการปลูกพืชหมุนเวียนขึ้นกับการปรับตัวและการได้รับประโยชน์จากพืชที่ใช้ปลูก
โดยทั่วไปควรปลูกพืชเหล่านั้นให้นานเท่ากับระยะเวลาที่ปลูกสตรอเบอรี่ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งหรือสองปีก็ได้ ถ้าหากเป็นพืชที่มีเมล็ดหลังจากช่วงของการเก็บเกี่ยว ควรไถพรวนและทิ้งไว้เป็นเวลานานพอสมควรก่อนที่จะทำการปลูกสตรอเบอรี่ใหม่ พืชคลุมดินหรือพืชอื่นที่มีประโยชน์ เช่น พวกถั่วต่าง ๆ อาจไถกลบในลักษณะของปุ๋ยพืชสด พวกพืชเหล่านี้ไม่ได้ไปเพิ่มอินทรีย์วัตถุทั้งหมดในดิน แต่จะไปเพิ่มปริมาณการย่อยสลายของอินทรียวัตถุให้เร็วขึ้น ซึ่งมีความสำคัญและนับว่าเป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วมีความสามารถเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในดินและยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยไนโตรเจนอีกด้วย ปัจจุบันต่างประเทศ เช่น แคนาดาได้มีการใช้ปุ๋ยพืชสดพวกถั่วเหลืองก่อนการปลูกสตรอเบอรี่และพบว่าสามารถลดปัญหาโรครากเน่าได้อย่างมาก

 

ปุ๋ยคอก

( Farm manures )

   ปุ๋ยคอก จัดได้ว่าเป็นปุ๋ยทั่วไปที่ดีที่สุดสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ซึ่งมีจำนวนของอินทรีย์วัตถุมากมายในอันที่จะทำให้ดินมีโครงสร้างที่ดีขึ้นและสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้การใส่ปุ๋ยคอกควรใส่ในขณะที่เตรียมดินก่อนการปลูกสตรอเบอรี่และต้องมีการไถพรวนเพื่อกำจัดต้นวัชพืชเล็ก ๆ ที่งอกขึ้นมา ( ซึ่งอาจเป็นเมล็ดที่ติดมาจากปุ๋ยคอกก็ได้ )

นอกจากนี้ยังต้องมีการเก็บชิ้นส่วนของวัชพืชทิ้งให้มากที่สุดในขณะที่ทำการไถพรวนด้วยสำหรับพื้นที่ที่เป็นดินทรายจัดอาจต้องใช้ปุ๋ยคอกในอัตรา 12 ตันต่อไร่ แต่สภาพพื้นที่โดยทั่วไปควรใช้ในอัตรา2-4 ตันต่อไร่ก็เพียงพอแล้ว

การตอบสนองต่อปุ๋ย

( Response to fertilizers )

    จากผลงานทดลองและสังเกตต่าง ๆทำให้ชี้ได้ว่าการตอบสนองของสตรอเบอรี่ต่อการให้ปุ๋ยมีการผันแปรอย่างมากมาย ถ้าหากเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุมากการให้ปุ๋ยอาจไม่จำเป็นเท่าใดนักแม้ว่าสตรอเบอรี่จะมีความต้องการธาตุอาหารต่าง ๆ มากมายสำหรับการเจริญเติบโตตามปกติและการให้ผลผลิต แต่จำนวนธาตุอาหารเหล่านี้ถูกใช้ในปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณที่มีอยู่ในดินที่อุดมสมบูรณ์ โดยทั่วไปมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากว่าธาตุอาหารอื่น ๆ ในดิน ที่ใช้ปลูกสตรอเบอรี่ หากขาดธาตุไนโตรเจนจะทำให้ต้นสตรอเบอรี่เจริญเติบโตช้า ใบเล็ก และมีสีเขียวจาง ถ้าขาดมากขึ้นจะทำให้ใบกลายเป็นสีแดงเข้มได้ อย่างไรก็ดีระบบรากที่โดนทำลาย ความแห้งแล้งและใบที่มีสีแดง เนื่องจากโรคต่าง ๆ สาเหตุเหล่านี้อาจเกิดการสับสนกับการขาดธาตุอาหารได้จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ถูกต้องเพื่อหาทางแก้ไขอย่างรวดเร็ว ขณะที่หากพืชมีการเจริญเติบโตอย่าแข็งแรงและมีสีใบเขียวเข้มตามปกติก็อาจไม่ต้องมีการใส่ธาตุอาหารเพิ่มเติมเกินความจำเป็น

เวลาของการให้ปุ๋ย

( Time of application )

    สตรอเบอรี่สามารถตอบสนองต่อปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใส่ในปริมาณที่เหมาะสมและมีการไถพรวนดินปลูกให้ลึก ปุ๋ยคอกอาจสร้างปัญหาเรื่องเมล็ดวัชพืชที่ติดมาและงอกหลังใส่ลงไปในแปลงปลูก จึงควรใส่ก่อนปลูกสตรอเบอรี่ประมาณ 4-6 เดือนและกำจัดวัชพืชให้หมด
สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้นควรใส่ก่อนปลูกหลาย ๆ วัน ในสภาพแปลงปลูกทั่ว ๆ ไปควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 4.5-9 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากย้ายปลูกไปแล้ว 4-6 สัปดาห์ และใส่ชาวงกลางฤดูกาลปลูกอีกครั้งหนึ่ง ปุ๋ยสตรอเบอรี่ที่ใช้ส่วนมากเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต การให้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากในช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่นั้นอาจทำให้ผลผลิตลดลงได้
การให้ปุ๋ยต้องระวังอย่าให้ตกค้างที่ใบสตรอเบอรี่ เพราะอาจจะทำให้ใบไหม้ได้ ควรมีการให้น้ำทันทีหลังจากการให้ปุ๋ยในแต่ละครั้ง
พบบ่อยครั้งว่าผลผลิตลดลงเนื่องจากการขากน้ำมากกว่าขาดปุ๋ย

 

คำแนะนำทั่วไป

( General recommendations )

     สตรอเบอรี่จะมีการตอบสนองต่อปริมาณที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีที่เป็นการค้าทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมี โปรแตสเซียม มังกานีส เหล็ก และโบรอน

จำนวนของปุ๋ยที่ต้องการนี้มีการแปรผันอย่างมากโดยขึ้นกับสภาพของดินและการเตรียมการก่อนปลูก การตัดสินใจสำหรับโปรแกรมการใส่ปุ๋ยอาจต้องคำนึงถึง
1. พื้นฐานของโปรแกรมปุ๋ยที่ใช้กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ชนิดพืช ที่ได้ปลูกในฤดูการก่อนการให้ปุ๋ยในช่วงที่ผ่านมา และคความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับต้นสตรอเบอรี่
2. ตารางการให้ปุ๋ยควรมีพื้นฐานมาจากตารางการตรวจสอบดิน การให้ปุ๋ย ช่วงที่ผ่านมาและความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับสภาพพื้นที่อาจมีการส่งดินไปตรวจสอบและปฏิบัติตามคำแนะนำที่จำเป็น
3. โปรแกรมการให้ปุ๋ยโดยทั่วไป ควรมาจากประสบการณ์และคำแนะนำ ของนักวิชาการเกษตร เช่น การให้ปุ๋ยคอก 8 ตันผสมกับปุ๋ย 10-10- 10 ในปริมาณ 90 กิโลกรัมต่อไร่ก่อนที่จะทำการปลูกสตรอเบอรี่การให้ปุ๋ยไนโตรเจน 4.5-9 กิโลกรัมหลังย้ายปลูก 4-6 สัปดาห์และอีกครั้งในช่วงฟดูกาลปลูกโดยจะไม่มีการให้เพิ่มอีก ควรควบคุมให้ดินมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH ) ประมาณ 5.5-6.5 ถ้าหากต่ำกว่า 5.0 อาจทำให้ผลผลิตลดลงได้

การเลือกพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่

    แม้ว่าสตรอเบอรี่เป็นพืชที่สามารถปลูกและขึ้นได้ในสภาพดินทั่ว ๆไปของหลายพื้นที่แต่การเลือกหรือพิจารณาพื้นที่ปลูก นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะผลิตเป็นการค้าให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การตลาด แรงงานที่สนับสนุน สภาพของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสภาพและชนิดของดินที่เหมาะสมของพื้นที่ที่ทำการปลูกสตรอเบอรี่สำหรับในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้นได้จัดการระบบเขตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยสภาพของดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยของแต่ละปีในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมแล้วนั้นอาจสามารถให้ผลผลิตสตรอเบอร์รี่ได้เกือบ 10 ตันต่อไร่ในช่วงฤดูการปลูกหนึ่งๆ

ทำเล ( Site )

พื้นที่ปลูกควรเป็นที่มีระดับ สามารถป้องกันและชะล้างของหน้าดินได้มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดีและมีสภาพอากาศโดยเฉลี่ยที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงของสตรอเบอร์รี่นอกจากนี้พื้นที่ควรเป็นควรเป็นที่ลาดเทเล็กน้อยและไม่มีน้ำค้างแข็งระหว่างช่วงการออกดอกสตรอเบอรี่ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่เคยปลูกมะเขือ พริก มันฝรั่ง และมะเขือเทศมาก่อนหรือควรเว้นการปลูกพืชเหล่านี้อย่างน้อย 3 ปี ก่อนจะมาปลูกสตรอเบอรี่ไม่ควรปลูกสตรอเบอรี่ในพื้นที่ปัจจุบันที่มีต้นหญ้าขึ้นเต็ม(พื้นที่ที่ยังไม่เคยเพาะปลูกมาก่อน) เพราะจะมีปัญหาเรื่องของการกำจัดวัชพืชตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนด้วงที่กัดกินรากพืช

ดิน ( Soil )

   สตรอเบอรี่เป็นพืชที่ชอบดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย ( pH 5.8-6.5 ) และไม่ทนต่อสภาพดินเค็ม( saline soil ) พื้นที่ที่มีสภาพดินเป็นดินทราย ดินปนกรวด หรือดินเลน
ควรถูกเป็นข้อพิจารณาสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่มากกว่าสภาพพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวปานกลางถึงเหนียวมากพื้นที่ดินปนทรายทำให้มีความสะดวกต่อการปฏิบัติงานในช่วงแรก ๆ ตั้งแต่การเตรียมแปลงก่อนการปลูกจนกระทั่งเริ่มการเก็บเกี่ยวนอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์ต้นไหลอีกด้วย แต่ในสภาพพื้นที่ดินปนทรายมาก ๆปกติมีธาตุอาหารที่ไม่เพียงพอ และอาจพบปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องของความแห้งแล้ง

   ดินที่เป็นดินเหนียวมาก ๆ มักพบปัญหาในเรื่องความลำบาคขณะปฏิบัติงาน ดินแห้งและแข็งตัวได้ง่ายมีการดูดซับน้ำได้ช้า จึงไม่ควรเลือกใช้ในการปลูกสตรอเบอรี่ ปกติดินเหนียวมีอินทรียวัตถุและความชื้นสูงแต่มีการระบายน้ำไม่ดี ดินที่มีความเหมาะสมที่สุดค่อนข้างผันแปร ไปตามพันธุ์และสถานที่ได้จึงควรพิจารณาพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวดเล็กที่มีหน้าดินสึกและรักษาความชื้นอยู่ได้ตลอดเวลา

การระบายน้ำดีก็เป็นสิ่งจำเป็นมาก หลังจากการย้ายปลูกและต้นสตรอเบอรี่เริ่มมีการเจริญเติบโตแล้ว ระบบรากของสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อดินที่มีการอิ่มตัวของน้ำมาก ซึ่งจะทำให้รากเน่าตายและไม่มีพัฒนาของรากใหม่ขึ้นมาทดแทน เป็นสาเหตุทำให้ต้นตั้งตัวได้ช้าหรือเน่าตายได้

ประวัติของดินก่อนการปลูก

( Previous history of soil )

     เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ได้ทราบแล้วว่าการที่จะให้ได้รับผลผลิตสูงกว่าปกติต้องปลูกในพื้นที่ใหม่และปราศจากโรคแต่บางพื้นที่แทบจะไม่สามารถเป็นไปได้และมีความจำเป็นต้องปลูกในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องกันมาหลายๆปีบ่อยครั้งที่พบว่าดินมีการสูญเสียธาตุอาหารคุณสมบัติทางกายภาพ มีปัญหาเรื่องศัตรู ต่าง ๆ วัชพืชหรือเมล็ดวัชพืชพวกมีอายุหลายปีแมลงและโรคทางดิน และไส้เดือนฝอย สำหรับปัญหาเรื่องศัตรูต่าง ๆ สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการจัดระบบปลูกพืชหมุนเวียนที่ดี การควบคุมวัชพืช จะเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้หากพิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีปัญหาน้อยกว่าถ้าหากพบว่ามีวัชพืชหลายปีขึ้นอยู่ไม่ควรปลูกสตรอเบอรี่จนกว่าจะได้มีการกำจัดให้หมดไปแมลงจำพวกตัวอ่อนของด้วงและพวกกัดกินรากของสตรอเบอรี่ ซึ่งมีปัญหาทำให้ผลผลิตลดลงอาจต้องถู ควบคุมด้วยการปลูกพืชอื่นแทนสตรอเบอรี่เป็นเวลาหลาย ๆ ปีหรือโดยการใช้สารเคมีกำจัดแมลงทางดิน โรคทางดินสองโรคคือ โรคเหี่ยว (Verticillium wilt )และโรครากเน่า ( Red stele )ไม่สามารถควบคุมโดยการพ่นสารเคมีได้ถ้าหากพบว่ามีโรคเหล่านี้ระบาดอยู่ในแปลงก่อนแล้วควรหลีกเลี่ยงพื้นที่นี้ หรือเลือกปลูกพันธุ์ สตรอเบอรี่ที่มีความต้านทานเพียงอย่างเดียว

การปลูกสตรอเบอรี่

สตรอเบอรี่จัดเป็นพืชที่มีอายุหลายปี (Perennial plant ) และเป็นพืชที่ชอบความหนาวเย็น ที่ลำต้น( Crown ) ของต้นแม่ ( Mother plant ) จะมีส่วนที่เรียกว่า ( Leaf axil ) และที่โคนของแต่ละหูใบจะมีไหล (Runner )  เจริญออกมาจนสามารถเติบโต กลายเป็นต้นสตรอเบอรี่เล็ก ๆ   ( Daughter plant )หรือที่เรียกกันว่าต้นไหล สำหรับใช้ในการขยายพันธุ์นำมาปลูกเป็นต้นใหม่ต่อไปการปลูกสตรอเบอรี่แบบใช้ต้นไหลปลูกนั้น หากต้นไหลมีการตั้งตัวแล้วจะสามารถเจริญได้อย่างต่อเนื่องความยาวของวันที่ค่อยๆ สั้นลงและอุณหภูมิที่เย็นทำให้ต้นสตรอเบอรี่สามารถสร้างตาดอก  (Flower bud formation ) ได้ แต่ในช่วงฤดูหนาวจะมีสภาพวันที่สั้นและอุณหภูมิเย็นลงไปอีกต้นสตรอเบอรี่จะเกิดการพักตัว (Dormancy ) ซึ่งช่วงหรือระยะทางของการพักตัวนี้ขึ้นกับพันธุ์ต่าง ๆ

เมื่อพ้นจากการพักตัวแล้วจึงสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้การที่จะให้พ้นจากสภาพการพักตัวได้นั้นความยาวของวันต้องยาวขึ้นและอุณหภูมิต้องสูงขึ้นด้วยหลังจากที่ต้นสตรอเบอรี่ผ่านพ้นสภาพการพักตัวแล้วจะเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงเริ่มมีการออกดอกและกลายเป็นผลสตรอเบอรี่สามารถเก็บเกี่ยวมาบริโภคได้

ต้วอย่างแปลงปลูก

ก่อนลงมือปลูกท่านนักปลูกควรศึกษาข้อมูลเชิงลึกและรายละเอียดต่างๆให้ดีเสียก่อนก่อน  ไม่ว่าจะเป็นสภาพดิน อากาศ และที่สำคัญที่สุดก็คือพันธุ์แหล่งที่มาชองพันธุ์ เนื่องจากการปลูกสตรอเบอรี่ใช้งบลงทุนต่อไร่ค่อนข้างสูง ถ้าหากพันธุ์ที่ใช้ปลูกไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาจาแหล่งเพาะพันธุ์บนที่สูงจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำ จะทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุนลงแรง


หน้าถัดไป

Call Now Buttonโทรสอบถามตอนนี้