20 Sat , April 2024

ข้อมูลการปลูกผักหวานป่า

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์ เช่น การเอาดินมาทำสิ่งก่อสร้าง การเพาะปลูกพืชผักต่างๆเป้นต้น ของสิ่งไหนก็ตามถ้าเรามุ่งแต่จะใช้ประโยชน์อย่างเดียวแต่ไม่มีการบำรุ่งรักษาในไม่ช้าของสิ่งนั้นก็จะต้องเสื่อมเสียไปไปอย่างรวดเร็ว ดินก็เช่นกันถ้าขาดการปรับปรุงและบำรุงรักษาเอาไว้ดินกินก็จะเสื่อมและให้ผลผลผลิตในการเพาะปลูกลดลงเรื่อยๆในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ลดน้อยลงจึงส่งผลให้เกิดการขยายพื้นท่ีในการเพาะปลูก ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร ถ้าหากเกษตกร รู้จักดินในเชิงลึก วางแผนการใช้งานและการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องจะให้ได้ผลผลิตต่อไร่ในอัตราสูงสุด ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าก็จะลดน้อยลง 

อ่านเพิ่มเติม>>

อินทรียวัตถุ

 “อินทรียวัตถุ”  ถ้าเอ่ยถีงคำนี้ หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็ยังไม่ทราบว่าหมายถึงที่แท้จริงว่าคืออะไรกันแน่ และมีความสำคัญอย่างไรในทางการเกษตร

     อินทรียวัตถุเป็นพื้นฐานสำคัญของการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างดีปลอดภัย ลดต้นทุนการผลิต ด้วยคุณประโยชน์อันมากมายของอินทรียวัตถุวันนี้เราจะมาทำความรู้จักอินทรียวัตถุกัน

อินทรียวัตถุ หมายถึง ซากพืช ซากสัตว์ทุกชนิดที่กำลังสลายตัว ด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย และส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่จากกระบวนการย่อยสลาย

อ่านเพิ่มเติม>>

จากคำจำกัดความดังกล่าว ฟังคล้ายกับว่าอะไรเป็นน้ำก็คืออุทกวิทยา
แต่เท่าที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันได้จัดวิชาที่เกี่ยวกับน้ำไว้ในประเภทยีออฟิสิกส์และแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะสาขาคือ Oceanography กล่าวถึงน้ำในทะเลมหาสมุทร, Hydrometeorology กล่าวถึงน้ำในบรรยากาศ
และ Hydrology กล่าวถึงน้ำ ส่วนที่ไม่ใช่ในทะเลมหาสมุทร ไม่ใช่ในบรรยากาศ ก็จัดอยู่ในอุทกวิทยาทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ดี น้ำทั้ง 3 ลักษณะย่อมเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวพันกันอยู่ดี เช่น น้ำทะเลขึ้นลงกระทบกระเทือนถึงน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำชายทะเล ไอน้ำในบรรยากาศกลายเป็นฝน ซึ่งเป็นต้นทุนของน้ำท่าที่ไหลอยู่ในแม่น้ำลำธารเหล่านี้ เป็นต้นการศึกษาทางอุทกวิทยาจึงต้องศึกษาล้ำเข้าไปในเรื่อง น้ำทะเลและน้ำในบรรยากาศบ้างพอสมควร นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้ากันว่าวิชาอุทกวิทยานี้เริ่มมีมานานเท่าใด มนุษย์รู้จักใช้น้ำมานานนับพันๆปี

อ่านเพิ่มเติม>> 

จุลินทรีย์

ดินเป็นแหล่งที่มีจุลินทรีย์อยู่มากมาย  หลากหลายชนิดในธรรมชาติ
ทั้งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์และต่อพืชผักต่าง ๆ  ตัวอย่างเช่น แบคทีเรีย เชื้อรา แอกติโนไมซีต และสาหร่าย

จุลินทรีย์เป็นรา….หรือราเป็นจุลินทรีย์?
หลายคนคงสงสัยกับคำถามนี้ว่าตกลง  ราเป็นจุลินทรีย์หรือจุลินทรีย์เป็นรากันแน่ ?
ก่อนอื่นทุกคนคงทราบกันดีนะครับ  ว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกของเรานี้  มีอยู่มากมายหลายชนิด รา ก็เช่นกัน
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับทั้งสองคำนี้กันก่อนนะครับ เริ่มที่ “ จุลินทรีย์ ” คือ
สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้จึงต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการส่องดูนั่นเอง ส่วน “ รา ” เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ในรูปของเส้นใยหลายเซลล์ที่เรียกว่า ไฮฟา

อ่านเพิ่มเติม>>

อะโซโตแบคเตอร์

อะโซโตแบคเตอร์เป็น จีนัสของแบคทีเรีย ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เป็นแบคทีเรียที่มีผนังหนา รูปร่างไม่เสถียร ย้อมติดสีแกรมลบ และสามารถผลิตเมือกจำนวนมาก ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต (Aerobic Bacteria) อาศัยอยู่อย่างเป็นอิสระในดิน มีหน้าที่สำคัญในการตรึงไนโตรเจน ใช้เป็นส่วนประกอบของปุ๋ยชีวภาพ ในดินจะมีเชื้ออะโซโตแบคเตอร์อยู่หลายชนิดและมีปริมาณขึ้นอยู่กับคุณภาพของดินและสิ่งแวดล้อมในบริเวณ
นั้น ๆ แต่จะพบมากที่สุดในบริเวณรากของพืช โดยทั่วไปแล้วเชื้อแบคทีในกลุ่มอะโซโตแบคเตอร์จะไม่อาศัยอยู่ที่ผิวรากของพืชแต่จะมีมากในเขตรากพืช (rhizosphere) ในพืชบางชนิดรากพืชจะขับสารออกมา (root exudate) ซึ่งมีทั้งกรดอะมิโนน้ำตาล วิตามิน และกรดอินทรีย์รวมทั้งส่วนของรากพืช ที่กำลังสลายตัวอยู่นั้นจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่ทำให้เชื้อดังกล่าวเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างมากมาย

อ่านเพิ่มเติม>>

เชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม

ป็นแบคทีเรียแกรมบวก มีรูปร่างท่อน สร้างสปอร์และทนต่ออุณหภูมิ 100 °C         ได้นานถึง 5-10  ชั่วโมง   ดำรงชีวิตได้ที่อุณหภูมิ 30-37 °C     ในสภาวะที่ไม่มีอากาศ(Anaerobic bacteria )พบได้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน และน้ำ ในระดับ pH ที่ต่ำกว่า 4.6 สามารถยับยั้งการเจริญของสปอร์ได้ เรามักจะพบแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทั่วไปในธรรมชาติ ทั้งบนบกและในน้ำ

สามารถดำรงชีวิตได้ดีในสิ่งแวดล้อมที่เป็นกรดอ่อนๆ (pH อยู่ในช่วง 4.8 – 7)แบคทีเรียชนิดนี้มีความสามารถในการแพร่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งได้ง่าย ตัวอย่างเช่น
จากการปนเปื้อนในดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืช และอาจมาจากเศษดินที่ติดมากับผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆหรือในลำไส้ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แต่แบคทีเรียนี้จะสามารถผลิตสารพิษ botulinum toxin
ได้เฉพาะช่วงที่สร้างสปอร์ ซึ่งจะเกิดแค่ในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม>>

 

Categories

ผักหวานป่า/การแพร่กระจายพันธุ์

การปลูกผักหวานป่า

การเตรียมพื้นที่ ปลูกผักหวานป่า