29 Fri , March 2024

คลิปวิดีโอ

กาปลูกสตรอเบอรี่ในถุงเพาะชำ

ข้อมูลเพิ่มเติม>>

การชำกิ่งตอนผักหวานป่า

ข้อมูลเพิ่มเติม>>

การปลูกผักหวานป่าด้วยต้นกล้า

ช้อมูลเพิ่มเติม>>

เทคนิคการแต่งกิ่งตอนผักหวานป่า

ข้อมูลเพิ่มเติม>>

การจัดการและการเตรียมดินก่อนปลูกสตรอเบอรี่

     เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ แล้วพบว่าปกติการปลูกสตรอเบอรี่เป็นการลงทุนที่ใช้ระยะเวลาสั้นโดยใช้เวลาเพียงหนึ่งปีหรือน้อยกว่า ตั้งแต่ต้นมีการตั้งตัวจนกระทั่งเก็บเกี่ยวในปีถัดไปด้วยเหตุผลนี้จึงสามารถกำหนดร่วมกับการปลูกพืชหมุนเวียนอื่น ๆ ได้และมีความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ความจำเป็นและความต้องการธาตุอาหาร เพื่อทำให้ผลผลิตสูงขึ้นอยู่กับการจัดการสภาพดินให้ดีที่สุด 3 ประการคือ โครงสร้างของดินที่ดี ความชื้นในดินที่เพียงพอ และธาตุอาหารที่เพียงพอสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เงื่อนไขของสภาพดินเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันมาก และส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณของอินทรีย์วัตถุหรือฮิวมัสในดิน ปริมาณของอินทรียวัตถุในดินที่มีมากมีผลทำให้โครงสร้างดินดี เพื่อการดูดซับความชื้น และในระหว่างเกิดกระบวนการเน่าสลายจะให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืช ดินที่ขาดอินทรีวัตถุควรมีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชสดเพิ่มเติม ก่อนมีการปลูกสตรอเบอรี่

ดินที่มีความร่วนซุยถือว่ามีโครงสร้างดิน ซึ่งทำให้เกิดสภาพที่เป็นประโยชน์ เช่น กิจกรรมของเชื้อแบคทีเรียและสารเคมีในดิน ช่วยเหลือการดูดซับน้ำในดิน ตลอดจนระบบรากมีการเจริญและพัฒนาได้ดี ระบบรากที่ขยายได้มากขึ้นนี้จะทำให้ต้นสตรอเบอรี่ได้รับความชื้นและปริมาณอาหารที่มากขึ้นตามไปด้วยปริมาณของความชื้นที่มากพอเหมาะเป็นสิ่งจำเป็นตลอดช่วงของการปลูกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างช่วงของ การเก็บเกี่ยวหลักจากการย้ายต้นไหลสตรอเบอรี่ลงปลูกแปลงแล้วจำเป็นต้องมีการรดน้ำตลอดช่วงสองสามสัปดาห์แรก เพื่อให้ต้นตั้งตัวและเกิดระบบรากใหม่เร็วขึ้น ต่อจากนั้นอาจพิจารณาให้น้ำประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์โดยขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดินในพื้นที่ปลูกและปริมาณฝนที่ตก

การปลูกพืชหมุนเวียน

( rotation )


      ในบางพื้นที่อาจมีการปลูกสตรอเบอรี่ในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องกันมานานหลาย ๆ ปี การปฏิบัติเช่นนี้ไม่เป็นการดี ถึงแม้พื้นที่เหล่านั้นจะถูกยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตสตรอเบอรี่ก็ตาม ควรต้องมีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยรักษาอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชแมลง และโรคต่าง ๆ ผลดีของการปลูกพืชหมุนเวียนขึ้นกับการปรับตัวและการได้รับประโยชน์จากพืชที่ใช้ปลูก
โดยทั่วไปควรปลูกพืชเหล่านั้นให้นานเท่ากับระยะเวลาที่ปลูกสตรอเบอรี่ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งหรือสองปีก็ได้ ถ้าหากเป็นพืชที่มีเมล็ดหลังจากช่วงของการเก็บเกี่ยว ควรไถพรวนและทิ้งไว้เป็นเวลานานพอสมควรก่อนที่จะทำการปลูกสตรอเบอรี่ใหม่ พืชคลุมดินหรือพืชอื่นที่มีประโยชน์ เช่น พวกถั่วต่าง ๆ อาจไถกลบในลักษณะของปุ๋ยพืชสด พวกพืชเหล่านี้ไม่ได้ไปเพิ่มอินทรีย์วัตถุทั้งหมดในดิน แต่จะไปเพิ่มปริมาณการย่อยสลายของอินทรียวัตถุให้เร็วขึ้น ซึ่งมีความสำคัญและนับว่าเป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วมีความสามารถเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในดินและยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของปุ๋ยไนโตรเจนอีกด้วย ปัจจุบันต่างประเทศ เช่น แคนาดาได้มีการใช้ปุ๋ยพืชสดพวกถั่วเหลืองก่อนการปลูกสตรอเบอรี่และพบว่าสามารถลดปัญหาโรครากเน่าได้อย่างมาก

 

ปุ๋ยคอก

( Farm manures )

   ปุ๋ยคอก จัดได้ว่าเป็นปุ๋ยทั่วไปที่ดีที่สุดสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ซึ่งมีจำนวนของอินทรีย์วัตถุมากมายในอันที่จะทำให้ดินมีโครงสร้างที่ดีขึ้นและสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้การใส่ปุ๋ยคอกควรใส่ในขณะที่เตรียมดินก่อนการปลูกสตรอเบอรี่และต้องมีการไถพรวนเพื่อกำจัดต้นวัชพืชเล็ก ๆ ที่งอกขึ้นมา ( ซึ่งอาจเป็นเมล็ดที่ติดมาจากปุ๋ยคอกก็ได้ )

นอกจากนี้ยังต้องมีการเก็บชิ้นส่วนของวัชพืชทิ้งให้มากที่สุดในขณะที่ทำการไถพรวนด้วยสำหรับพื้นที่ที่เป็นดินทรายจัดอาจต้องใช้ปุ๋ยคอกในอัตรา 12 ตันต่อไร่ แต่สภาพพื้นที่โดยทั่วไปควรใช้ในอัตรา2-4 ตันต่อไร่ก็เพียงพอแล้ว

การตอบสนองต่อปุ๋ย

( Response to fertilizers )

    จากผลงานทดลองและสังเกตต่าง ๆทำให้ชี้ได้ว่าการตอบสนองของสตรอเบอรี่ต่อการให้ปุ๋ยมีการผันแปรอย่างมากมาย ถ้าหากเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุมากการให้ปุ๋ยอาจไม่จำเป็นเท่าใดนักแม้ว่าสตรอเบอรี่จะมีความต้องการธาตุอาหารต่าง ๆ มากมายสำหรับการเจริญเติบโตตามปกติและการให้ผลผลิต แต่จำนวนธาตุอาหารเหล่านี้ถูกใช้ในปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับปริมาณที่มีอยู่ในดินที่อุดมสมบูรณ์ โดยทั่วไปมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากว่าธาตุอาหารอื่น ๆ ในดิน ที่ใช้ปลูกสตรอเบอรี่ หากขาดธาตุไนโตรเจนจะทำให้ต้นสตรอเบอรี่เจริญเติบโตช้า ใบเล็ก และมีสีเขียวจาง ถ้าขาดมากขึ้นจะทำให้ใบกลายเป็นสีแดงเข้มได้ อย่างไรก็ดีระบบรากที่โดนทำลาย ความแห้งแล้งและใบที่มีสีแดง เนื่องจากโรคต่าง ๆ สาเหตุเหล่านี้อาจเกิดการสับสนกับการขาดธาตุอาหารได้จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ถูกต้องเพื่อหาทางแก้ไขอย่างรวดเร็ว ขณะที่หากพืชมีการเจริญเติบโตอย่าแข็งแรงและมีสีใบเขียวเข้มตามปกติก็อาจไม่ต้องมีการใส่ธาตุอาหารเพิ่มเติมเกินความจำเป็น

เวลาของการให้ปุ๋ย

( Time of application )

    สตรอเบอรี่สามารถตอบสนองต่อปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใส่ในปริมาณที่เหมาะสมและมีการไถพรวนดินปลูกให้ลึก ปุ๋ยคอกอาจสร้างปัญหาเรื่องเมล็ดวัชพืชที่ติดมาและงอกหลังใส่ลงไปในแปลงปลูก จึงควรใส่ก่อนปลูกสตรอเบอรี่ประมาณ 4-6 เดือนและกำจัดวัชพืชให้หมด
สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้นควรใส่ก่อนปลูกหลาย ๆ วัน ในสภาพแปลงปลูกทั่ว ๆ ไปควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 4.5-9 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากย้ายปลูกไปแล้ว 4-6 สัปดาห์ และใส่ชาวงกลางฤดูกาลปลูกอีกครั้งหนึ่ง ปุ๋ยสตรอเบอรี่ที่ใช้ส่วนมากเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต การให้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมากในช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่นั้นอาจทำให้ผลผลิตลดลงได้
การให้ปุ๋ยต้องระวังอย่าให้ตกค้างที่ใบสตรอเบอรี่ เพราะอาจจะทำให้ใบไหม้ได้ ควรมีการให้น้ำทันทีหลังจากการให้ปุ๋ยในแต่ละครั้ง
พบบ่อยครั้งว่าผลผลิตลดลงเนื่องจากการขากน้ำมากกว่าขาดปุ๋ย

 

คำแนะนำทั่วไป

( General recommendations )

     สตรอเบอรี่จะมีการตอบสนองต่อปริมาณที่เหมาะสมของปุ๋ยเคมีที่เป็นการค้าทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจน นอกจากนี้ยังมี โปรแตสเซียม มังกานีส เหล็ก และโบรอน

จำนวนของปุ๋ยที่ต้องการนี้มีการแปรผันอย่างมากโดยขึ้นกับสภาพของดินและการเตรียมการก่อนปลูก การตัดสินใจสำหรับโปรแกรมการใส่ปุ๋ยอาจต้องคำนึงถึง
1. พื้นฐานของโปรแกรมปุ๋ยที่ใช้กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ชนิดพืช ที่ได้ปลูกในฤดูการก่อนการให้ปุ๋ยในช่วงที่ผ่านมา และคความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับต้นสตรอเบอรี่
2. ตารางการให้ปุ๋ยควรมีพื้นฐานมาจากตารางการตรวจสอบดิน การให้ปุ๋ย ช่วงที่ผ่านมาและความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับสภาพพื้นที่อาจมีการส่งดินไปตรวจสอบและปฏิบัติตามคำแนะนำที่จำเป็น
3. โปรแกรมการให้ปุ๋ยโดยทั่วไป ควรมาจากประสบการณ์และคำแนะนำ ของนักวิชาการเกษตร เช่น การให้ปุ๋ยคอก 8 ตันผสมกับปุ๋ย 10-10- 10 ในปริมาณ 90 กิโลกรัมต่อไร่ก่อนที่จะทำการปลูกสตรอเบอรี่การให้ปุ๋ยไนโตรเจน 4.5-9 กิโลกรัมหลังย้ายปลูก 4-6 สัปดาห์และอีกครั้งในช่วงฟดูกาลปลูกโดยจะไม่มีการให้เพิ่มอีก ควรควบคุมให้ดินมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH ) ประมาณ 5.5-6.5 ถ้าหากต่ำกว่า 5.0 อาจทำให้ผลผลิตลดลงได้

การเลือกพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่

    แม้ว่าสตรอเบอรี่เป็นพืชที่สามารถปลูกและขึ้นได้ในสภาพดินทั่ว ๆไปของหลายพื้นที่แต่การเลือกหรือพิจารณาพื้นที่ปลูก นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะผลิตเป็นการค้าให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การตลาด แรงงานที่สนับสนุน สภาพของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสภาพและชนิดของดินที่เหมาะสมของพื้นที่ที่ทำการปลูกสตรอเบอรี่สำหรับในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้นได้จัดการระบบเขตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยสภาพของดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยของแต่ละปีในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมแล้วนั้นอาจสามารถให้ผลผลิตสตรอเบอร์รี่ได้เกือบ 10 ตันต่อไร่ในช่วงฤดูการปลูกหนึ่งๆ

ทำเล ( Site )

พื้นที่ปลูกควรเป็นที่มีระดับ สามารถป้องกันและชะล้างของหน้าดินได้มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดีและมีสภาพอากาศโดยเฉลี่ยที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงของสตรอเบอร์รี่นอกจากนี้พื้นที่ควรเป็นควรเป็นที่ลาดเทเล็กน้อยและไม่มีน้ำค้างแข็งระหว่างช่วงการออกดอกสตรอเบอรี่ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่เคยปลูกมะเขือ พริก มันฝรั่ง และมะเขือเทศมาก่อนหรือควรเว้นการปลูกพืชเหล่านี้อย่างน้อย 3 ปี ก่อนจะมาปลูกสตรอเบอรี่ไม่ควรปลูกสตรอเบอรี่ในพื้นที่ปัจจุบันที่มีต้นหญ้าขึ้นเต็ม(พื้นที่ที่ยังไม่เคยเพาะปลูกมาก่อน) เพราะจะมีปัญหาเรื่องของการกำจัดวัชพืชตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนด้วงที่กัดกินรากพืช

ดิน ( Soil )

   สตรอเบอรี่เป็นพืชที่ชอบดินที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย ( pH 5.8-6.5 ) และไม่ทนต่อสภาพดินเค็ม( saline soil ) พื้นที่ที่มีสภาพดินเป็นดินทราย ดินปนกรวด หรือดินเลน
ควรถูกเป็นข้อพิจารณาสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่มากกว่าสภาพพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวปานกลางถึงเหนียวมากพื้นที่ดินปนทรายทำให้มีความสะดวกต่อการปฏิบัติงานในช่วงแรก ๆ ตั้งแต่การเตรียมแปลงก่อนการปลูกจนกระทั่งเริ่มการเก็บเกี่ยวนอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์ต้นไหลอีกด้วย แต่ในสภาพพื้นที่ดินปนทรายมาก ๆปกติมีธาตุอาหารที่ไม่เพียงพอ และอาจพบปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องของความแห้งแล้ง

   ดินที่เป็นดินเหนียวมาก ๆ มักพบปัญหาในเรื่องความลำบาคขณะปฏิบัติงาน ดินแห้งและแข็งตัวได้ง่ายมีการดูดซับน้ำได้ช้า จึงไม่ควรเลือกใช้ในการปลูกสตรอเบอรี่ ปกติดินเหนียวมีอินทรียวัตถุและความชื้นสูงแต่มีการระบายน้ำไม่ดี ดินที่มีความเหมาะสมที่สุดค่อนข้างผันแปร ไปตามพันธุ์และสถานที่ได้จึงควรพิจารณาพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวดเล็กที่มีหน้าดินสึกและรักษาความชื้นอยู่ได้ตลอดเวลา

การระบายน้ำดีก็เป็นสิ่งจำเป็นมาก หลังจากการย้ายปลูกและต้นสตรอเบอรี่เริ่มมีการเจริญเติบโตแล้ว ระบบรากของสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อดินที่มีการอิ่มตัวของน้ำมาก ซึ่งจะทำให้รากเน่าตายและไม่มีพัฒนาของรากใหม่ขึ้นมาทดแทน เป็นสาเหตุทำให้ต้นตั้งตัวได้ช้าหรือเน่าตายได้

ประวัติของดินก่อนการปลูก

( Previous history of soil )

     เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ได้ทราบแล้วว่าการที่จะให้ได้รับผลผลิตสูงกว่าปกติต้องปลูกในพื้นที่ใหม่และปราศจากโรคแต่บางพื้นที่แทบจะไม่สามารถเป็นไปได้และมีความจำเป็นต้องปลูกในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องกันมาหลายๆปีบ่อยครั้งที่พบว่าดินมีการสูญเสียธาตุอาหารคุณสมบัติทางกายภาพ มีปัญหาเรื่องศัตรู ต่าง ๆ วัชพืชหรือเมล็ดวัชพืชพวกมีอายุหลายปีแมลงและโรคทางดิน และไส้เดือนฝอย สำหรับปัญหาเรื่องศัตรูต่าง ๆ สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการจัดระบบปลูกพืชหมุนเวียนที่ดี การควบคุมวัชพืช จะเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้หากพิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีปัญหาน้อยกว่าถ้าหากพบว่ามีวัชพืชหลายปีขึ้นอยู่ไม่ควรปลูกสตรอเบอรี่จนกว่าจะได้มีการกำจัดให้หมดไปแมลงจำพวกตัวอ่อนของด้วงและพวกกัดกินรากของสตรอเบอรี่ ซึ่งมีปัญหาทำให้ผลผลิตลดลงอาจต้องถู ควบคุมด้วยการปลูกพืชอื่นแทนสตรอเบอรี่เป็นเวลาหลาย ๆ ปีหรือโดยการใช้สารเคมีกำจัดแมลงทางดิน โรคทางดินสองโรคคือ โรคเหี่ยว (Verticillium wilt )และโรครากเน่า ( Red stele )ไม่สามารถควบคุมโดยการพ่นสารเคมีได้ถ้าหากพบว่ามีโรคเหล่านี้ระบาดอยู่ในแปลงก่อนแล้วควรหลีกเลี่ยงพื้นที่นี้ หรือเลือกปลูกพันธุ์ สตรอเบอรี่ที่มีความต้านทานเพียงอย่างเดียว

การปลูกสตรอเบอรี่

สตรอเบอรี่จัดเป็นพืชที่มีอายุหลายปี (Perennial plant ) และเป็นพืชที่ชอบความหนาวเย็น ที่ลำต้น( Crown ) ของต้นแม่ ( Mother plant ) จะมีส่วนที่เรียกว่า ( Leaf axil ) และที่โคนของแต่ละหูใบจะมีไหล (Runner )  เจริญออกมาจนสามารถเติบโต กลายเป็นต้นสตรอเบอรี่เล็ก ๆ   ( Daughter plant )หรือที่เรียกกันว่าต้นไหล สำหรับใช้ในการขยายพันธุ์นำมาปลูกเป็นต้นใหม่ต่อไปการปลูกสตรอเบอรี่แบบใช้ต้นไหลปลูกนั้น หากต้นไหลมีการตั้งตัวแล้วจะสามารถเจริญได้อย่างต่อเนื่องความยาวของวันที่ค่อยๆ สั้นลงและอุณหภูมิที่เย็นทำให้ต้นสตรอเบอรี่สามารถสร้างตาดอก  (Flower bud formation ) ได้ แต่ในช่วงฤดูหนาวจะมีสภาพวันที่สั้นและอุณหภูมิเย็นลงไปอีกต้นสตรอเบอรี่จะเกิดการพักตัว (Dormancy ) ซึ่งช่วงหรือระยะทางของการพักตัวนี้ขึ้นกับพันธุ์ต่าง ๆ

เมื่อพ้นจากการพักตัวแล้วจึงสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้การที่จะให้พ้นจากสภาพการพักตัวได้นั้นความยาวของวันต้องยาวขึ้นและอุณหภูมิต้องสูงขึ้นด้วยหลังจากที่ต้นสตรอเบอรี่ผ่านพ้นสภาพการพักตัวแล้วจะเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงเริ่มมีการออกดอกและกลายเป็นผลสตรอเบอรี่สามารถเก็บเกี่ยวมาบริโภคได้

ต้วอย่างแปลงปลูก

ก่อนลงมือปลูกท่านนักปลูกควรศึกษาข้อมูลเชิงลึกและรายละเอียดต่างๆให้ดีเสียก่อนก่อน  ไม่ว่าจะเป็นสภาพดิน อากาศ และที่สำคัญที่สุดก็คือพันธุ์แหล่งที่มาชองพันธุ์ เนื่องจากการปลูกสตรอเบอรี่ใช้งบลงทุนต่อไร่ค่อนข้างสูง ถ้าหากพันธุ์ที่ใช้ปลูกไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาจาแหล่งเพาะพันธุ์บนที่สูงจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำ จะทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุนลงแรง


หน้าถัดไป